ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-01-17

USDJPY พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบหกสัปดาห์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจับตามองการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

USDJPY พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบหกสัปดาห์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจับตามองการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงลบ ท่ามกลางความคาดหวังที่ลดลงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยปัจจัยอื่นๆที่อาจเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอย่าง การโจมตีของสหรัฐฯต่อกลุ่มฮูตี ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผันผวนของจีนและการชะลอตัวของการเติบโตของประชากรอาจท้าทายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนได้

ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันในขณะที่แตะระดับสูงสุดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ประมาณ 103.50

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าได้สร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำลง นอกจากนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีและ 30 ปียังพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีปรับตัวสูงขึ้นที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์อีกด้วย เป็นผลให้คู่เงิน USDJPY กลายเป็นคู่สกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงิน G10

อีกทางหนึ่ง คู่เงิน EURUSD แบกรับภาระจากความคิดเห็นที่หลากหลายจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD พลิกกลับจากระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจ ขณะที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และการที่ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ไม่สามารถคงการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นร่วมกับความกังวลครั้งใหม่ในตลาดสกุลเงินดิจิทัลได้กระตุ้นแรงเทซื้อ BTCUSD และ ETHUSD หลังจากครองตลาดได้สองวัน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ยังคงถูกกดดันเป็นวันที่สองติดต่อกัน โดยลดลง 0.30% ระหว่างวันที่ราวๆ $77.70
  • ทองคำ (Gold) ทรงตัวต่ำกว่าระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ราวๆ $2,048
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบห้าสัปดาห์ที่ประมาณ 103.50 โดยเพิ่มขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับลดลง ส่วน หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงเล็กน้อย
  • BTCUSD และ ETHUSD ดีดตัวออกจากการพุ่งสูงขึ้นสองวันที่ประมาณ $42,700 และ $2,550 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง…

ผู้ว่าการ Fed Christopher Waller ยังคงแสดงความเชื่อมั่นว่า Fed จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจ้างงานและเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งท่าทีของ Waller ยังสนับสนุนความสงสัยของนักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2024 อีกด้วย อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับ Fed ยังกระตุ้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าผลสำรวจการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯจะแย่ที่สุดในรอบ 20 ปีโดยละเว้นช่วงการแพร่ระบาดของโรคระบาดก็ตาม ทั้งนี้ เครื่องมือ FedWatch ของ CME บ่งชี้ว่าตลาดปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมกราคม 2567 จาก 94.8% เป็น 97.8% ภายในหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ การลดลงของความน่าจะเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมีนาคมที่ยืนยันไว้ก่อนหน้านี้ที่ปรับลดลงจาก 76.9% เป็น 63.3% ยังลดแนวโน้มที่ Fed จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงด้วยเช่นกัน

ในอีกทางหนึ่ง ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ของจีนตรงกับการคาดการณ์ของรัฐบาล ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเติบโตของยอดค้าปลีกที่ช้าลงและดัชนีราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง รวมไปถึงการเติบโตของจำนวนประชากรที่ตกต่ำลงยังทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ทางกายภาพจากหนึ่งในผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างจีนอีกด้วย นอกจากนี้ การโจมตีทางทหารของสหรัฐฯต่อผู้ก่อการร้ายฮูตียังคงดำเนินต่อไป ซึ่งสหราชอาณาจักรรวมถึงบางส่วนของชาติตะวันตกก็สนับสนุนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเส้นทางการค้าทั่วโลกผ่านทะเลแดงด้วยเช่นกัน สถานการณ์เดียวกันนี้ยังส่งสัญญาณถึงแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากวิกฤตการณ์ด้านอุปทานและความท้าทายในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักรายอื่นๆทั่วโลก รวมถึง Fed

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

จับตามองยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ และแถลงการณ์ของ Lagarde จาก ECB ...

แม้ล่าสุดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed แต่อัตราเงินเฟ้อโดยรวมที่ผ่อนคลายลงยังคงรักษาความหวังของตลาดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ไว้ และยังท้าทายแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯที่มีการรายงานในวันนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 0.4% MoM เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ 0.3% และการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะลดลงเหลือ 0.0% จาก 0.2% จะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองหลังจากการรายงานการจ้างงานในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯส่วนใหญ่ที่ปรับตัวสูงขึ้น หากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่จะมีการรายงานในเร็วๆนี้ยังคงบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อยังสามารถควบคุมได้ ดอลลาร์สหรัฐฯอาจพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงปลายปี 2023 ได้

ในอีกทางหนึ่ง ความคิดเห็นเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากประธาน ECB Christine Lagarde กลายเป็นสิ่งสำคัญในการกดดันให้คู่เงิน EURUSD อยู่ในช่วงขาลง ขณะที่ท่าทีที่ไม่ชัดเจนล่าสุดในหมู่ผู้กำหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่ตกต่ำจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโรต่อไป

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !