ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

3 ประเภทกราฟยอดนิยมในการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

ส่ิงหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการเทรดคือนักเทรดจะต้องรู้วิธีการอ่านแพทเทิร์นของกราฟ เพราะแพทเทิร์นเหล่านั้นจะให้ภาพรวมที่ชัดเจนของตลาด และช่วยบอกสัญญาณการซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม แค่รู้ว่าแพทเทิร์นกราฟแต่ละแบบทำงานอย่างไรนั้นอาจไม่เพียงพอ นักเทรดจะต้องเข้าใจวิธีใช้รูปแบบกราฟประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการมองหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเทรดของท่าน

None

ที่สำคัญ การทำความเข้าใจรูปแบบกราฟจะช่วยให้ท่านสามารถวิเคราะห์เชิงเทคนิคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านรู้วิธีจัดประเภทและจัดหมวดหมู่ของกราฟ ซึ่งเป็นประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้

แพทเทิร์นกราฟบอกสัญญาณกลับตัว (Reversal pattern)

จากชื่อคงเดาได้ไม่ยาก นั่นก็คือนักเทรดจะใช้กราฟนี้ในการสร้างสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มหรือเทรนด์นั่นเอง โดยสังเกตสัญญาณการกลับตัวมีหลักการง่ายๆ คือ:

  1. หากมีแพทเทิร์นการกลับตัวในช่วงขาขึ้น (Uptrend) จะเป็นการส่งสัญญาณว่าราคาอาจมีการปรับตัวลงในไม่ช้า
  2. ในขณะเดียวกัน หากแพทเทิร์นดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงขาลง (Downtrend) มีโอกาสที่ราคาอาจปรับตัวขึ้นเร็วๆ นี้

นักเทรดสามารถใช้รูปแบบกราฟประเภทต่างๆ เพื่อติดตามการกลับตัวได้ ได้แก่ :

  • รูปแบบ Double Top และ Double Bottom
  • รูปแบบ Head & Shoulders และ Inverse Head & Shoulders
  • กรอบ Rising Wedge และ Falling Wedge
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

วิธีเทรดด้วยแพทเทิร์นแบบ Reversal

นักลงทุนอาจมองว่าการซื้อขายด้วยรูปแบบการกลับตัวเป็นเรื่องง่าย เพราะสิ่งที่ท่านต้องทำก็เพียงแค่ตั้งออเดอร์ตามทิศทางเดียวกับแนวโน้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่เหนือบริเวณ Necklin นั่นเอง ขั้นต่อไปคือการจับตาให้ราคาไปสู่เป้าหมายเหนือแพทเทิร์นที่ท่านวางไว้

อย่าลืมว่าการจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อท่านเทรดโดยอาศัยรูปแบบ Reversal โดยนักเทรดจะต้องไม่ละเลยการตั้งคำสั่งหยุดการขาดทุน

แพทเทิร์นกราฟแบบต่อเนื่อง (Continuation Pattern)

ที่แตกต่างจากรูปแบบกราฟแบบ Reversal อย่างชัดเจนเลยก็คือ รูปแบบกราฟที่แสดงความต่อเนื่อง (Continuation pattern) จะส่งสัญญาณถึงการที่ราคาจะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางเดิม หรือที่เรียกกันว่ารูปแบบ Consociation ซึ่งบ่งชี้ให้ทราบว่าตลาดเป็นช่วงขาขึ้นหรือขาลง หรือจะมีการพักฐานระยะสั้นอย่างไรก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มก่อนหน้า

แน่นอนว่ากราฟจะไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรงตลอดไป แต่มันอาจมีการหยุดพักชั่วคราวก่อนจะปรับตัวขึ้นหรือลงต่อไป โดยรูปแบบกราฟต่อเนื่องที่นักเทรดต้องรู้จักแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

  • รูปแบบ Pennant
  • รูปแบบ Wedge
  • รูปแบบ Rectangle

หากสังเกตดีๆ จะพบว่ารูปแบบ Wedge สามารถพบได้ทั้งในแพทเทิร์นแบบ Reversal และ Continuation ดังนั้นนักเทรดจะต้องสังเกตดูให้ดี

วิธีการเทรดโดยใช้รูปแบบกราฟแบบต่อเนื่อง

สำหรับการเทรดด้วยแพทเทิร์น Consolidation ท่านจะต้องตั้งออเดอร์ด้านล่างหรือเหนือแพทเทิร์นดังกล่าว ขึ้นอยู่กับว่าแนวโน้มที่กำลังเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ใด ขั้นต่อไปคือการรอให้ราคาไปถึงเป้าหมาย

และในการเทรดโดยใช้รูปแบบ Pennant ท่านสามารถวางเป้าหมายการทำกำไรได้ด้านบนของแพทเทิร์นดังกล่าว และแน่นอนว่าจะต้องตั้งคำสั่ง Stop-loss ที่ระดับต่ำกว่าหรือเหนือกว่าแพทเทิร์นดังกล่าวขึ้นอยู่กับทิศทางความเคลื่อนไหวของเทรนด์

แพทเทิร์นกราฟแบบ Bilateral

กราฟประเภทนี้ถือเป็นรูปแบบกราฟที่ยากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณว่าราคาอาจมีการปรับตัวขึ้นหรือลงก็ได้ พูดง่ายๆ ก็คือจะอ่านสัญญาณที่แน่ชัดได้ยาก โดยส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับรูปแบบกราฟหรือกรอบแบบสามเหลี่ยม

ในการเทรดด้วยแพทเทิร์นประเภทนี้ นักเทรดจะต้องคำนึงถึงทั้งสองกรณี (ทั้งราคาที่ขยับขึ้นหรือลง) ที่สำคัญ นักเทรดอาจต้องตั้งออเดอร์ถึงสองออเดอร์ โดยออเดอร์หนึ่งอยู่ที่ด้านล่างและอีกออเดอร์อยู่ที่ด้านบนของแพทเทิร์นดังกล่าว โดยเมื่อหนึ่งในคำสั่งของท่านถูกดำเนินการ ท่านควรรีบเร่งและยกเลิกอีกคำสั่งหนึ่งทันที

ในขณะเดียวกัน แพทเทิร์น Bilateral ดับเบิ้ลโอกาสในการเทรด แต่ก็มีโอกาสสูงที่อาจเกิดสัญญาณหลอก (False signal) หรือมีโอกาสที่ราคาอาจหลุดระดับที่กำหนดไว้ หากตั้งคำสั่งใกล้กับระดับต่ำสุดหรือสูงสุดของกรอบ Bilateral มากเกินไป

ไม่ว่าท่านจะเทรดด้วยเทคนิคใดก็ตาม อย่าลืม ตั้งออเดอร์ Stop-loss ทุกครั้งนะคะ!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน