ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

วิธีอ่านกราฟ Forex เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มราคาแบบง่ายๆ

None

การเรียนรู้การเทรด Forex อาจยากและมีความซับซ้อนสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการเทรดได้ไม่นานและมักสงสัยว่า “จะเทรด Forex แบบมืออาชีพได้ยังไง?” คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเริ่มต้นฝึกเทรดนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้าท่านรู้วิธีเทรดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะคุ้มค่าแก่การพยายามของท่านอย่างแน่นอน แถมในปัจจุบันยังมีทางลัดให้นักเทรดมือใหม่กลายเป็นเทรดเดอร์มือโปรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีเครื่องมือตัวช่วยวิเคราะห์สัญญาณทางเทคนิคมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ กราฟราคา หรือ Forex chart ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะกราฟเทรดช่วยให้เทรดเดอร์เห็นมุมมองของตลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถจับสัญญาณเทรด และจับตาความเคลื่อนไหวต่างๆ ในตลาดได้

ในบทความวันนี้ เราได้รวบรวมทุกสิ่งที่ท่านต้องรู้เกี่ยวกับกราฟราคา Forex ไม่ว่าจะเป็น วิธีการอ่านกราฟเทรด วิธีหาสัญญาณเทรด รวมถึงแนะนำแพลตฟอร์มและตัวช่วยวิเคราะห์กราฟเทรดที่ดีที่สุด พร้อมคลายข้อสงสัยว่าทำไมท่านต้องรู้วิธีอ่านกราฟแท่งเทียนให้เป็น

หัวข้อหลักที่น่าสนใจ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

กราฟจากแพลตฟอร์มเทรดที่ดีที่สุด - MT4

เอาล่ะ เทรดเดอร์หลายท่านอาจยังสงสัยว่าจะเริ่มเรียนรู้กราฟเทรดได้จากที่ไหน ไม่ต้องสงสัยแล้วนะครับ เพราะ MTrading มีแพลตฟอร์มประสิทธิภาพเยี่ยมอย่าง MT4 ที่มีหลายเวอร์ชั่นให้เลือก:

  • Metatrader 4 สำหรับ Windows เป็นแพลตฟอร์มเทรดมาตรฐานที่มีความปลอดภัย มีเครื่องมือเทรดหลายรายการ
  • MetaTrader 4 Multiterminal ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถออกออเดอร์หลายครั้งจากหลายบัญชีเทรดได้พร้อมๆ กัน
  • MetaTrader 4 Web Trader เหมาะสำหรับซอฟต์แวร์ OS ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม
  • MetaTrader 4 Supreme Edition เวอร์ชั่นที่รวบรวมฟีเจอร์สุดล้ำไว้มากมาย ได้แก่ Mini terminal และ Trade terminals, Tick chart, ฟีดอัปเดตข่าวสาร, อินดิเคเตอร์วิเคราะห์สัญญาณเทรด, โปรแกรมจำลองการเทรด และกราฟ Mini chart

MetaTrader 4 หรือ MT4 เป็นโปรแกรมเทรดตัวพื้นฐานที่นักเทรดไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือโปรก็ต้องมีอย่างแน่นอน เพราะ MT4 นั้นสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้เทรดเดอร์สามารถเฝ้าติดตามกราฟราคาได้แบบไม่ต้องเสียเงินแม้แต่นิดเดียว

None

MTrading มอบโอกาสให้ท่านเรียนรู้กราฟเทรดผ่านโปรแกรม MT4 ได้แบบไร้ความเสี่ยง ด้วย บัญชีเดโม่ฟรี ที่ไม่ต้องกลัวว่าเทรดขาดทุนแล้วจะเสียเงินจริงๆ เลือกเวอร์ชั่น MT4 ที่ท่านชื่นชอบได้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่น Desktop, Web Trader, Multiterminal หรือ Supreme Edition

โปรแกรม MetaTrader 4 จะมีการอัปเดตราคาคู่เงิน Forex ในตลาดทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นข้อมูลราคาจริงๆ จากธนาคารและผู้กำหนดราคาซื้อขาย (Liquidity provider) นั่นเอง ว่าแต่… เราจะเริ่มอ่านกราฟเทรดฟรีเหล่านั้นได้อย่างไร?

วิธีอ่านกราฟเทรด

การอ่านกราฟ Forex เป็นถือเป็นกำไรในการวิเคราะห์สัญญาณเทคนิค แต่ใช่ว่าทุกคนจะวิเคราะห์กราฟเทคนิคเป็นใช่ไหมล่ะครับ เอาล่ะ! วันนี้เราจะมาสอนหลักการพื้นฐานในการอ่านกราฟราคา ที่นำไปใช้ได้กับกราฟทุกรูปแบบ

  • แกนกราฟบอกราคาและเวลา
  • Pips และอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา
  • ประเภทกราฟ (กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟแท่งเทียน)
  • กรอบเวลา หรือ Timeframe

แกนราคาและเวลา

None

องค์ประกอบสำคัญของกราฟที่เหมือนๆ กันก็คือ แกนแนวตั้ง Y และแกนแนวนอน X โดยแกน X จะเป็นตัวบอกเวลา และแกน Y จะเป็นตัวบอกราคา โดยท่านสามารถดูระดับราคาในแต่ละช่วงเวลาได้แบบละเอียดด้วยการซูมเข้าซูมออกเพื่อดูช่วงราคาที่ถี่มากขึ้น ซึ่งท่านสามารถอ่านกราฟได้จากซ้ายไปขวา โดยที่ด้านซ้ายจะเป็นราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมาไล่มาจนถึงราคาในปัจจุบันทางด้านขวานั่นเอง

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ากราฟแสดงจังหวะที่ราคามีการปรับตัวลง ซึ่งบ่งบอกว่าราคาเป็นขาลง (Downtrend) ใน Timeframe ดังกล่าวนั่นเองครับ ในทางกลับกันหากอัตราแลกเปลี่ยนมีการปรับตัวขึ้น ก็แสดงว่าตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น (Uptrend) นั่นเอง หลายท่านอาจคิดว่าอ่านกราฟแค่นี้ไม่ยากนี่นา.. จริงครับ การดูราคาและกรอบเวลานั้นไม่ยาก ที่ยากก็คือการจับตาข้อมูลและสัญญาณสำคัญอื่นๆ ต่างหาก

Pips และอัตราแลกเปลี่ยน

Pip หรือ “Percentage in point” เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดในการเปลี่ยนแปลงค่าของคู่เงินต่างๆ (และตราสารการเงินอื่นๆ) โดยคู่เงินที่มีการจับคู่กับสกุลเงิน USD จะมีค่า pip ที่เล็กที่สุดเท่ากับ $0.0001 หรือคิดเป็น 1/100 ของ 1% ซึ่ง pip ที่มีขนาดเล็กจะช่วยป้องกันการเทรดขาดทุนหากราคาในตลาดมีการเหวี่ยงแรง แต่ถ้าหาก pip มีขนาดใหญ่กว่า 0.0001 ก็จะทำให้ท่านมีโอกาสเสี่ยงที่จะเทรดขาดทุนได้

โดยทั่วไป เราจะประเมินราคาคู่เงินต่างๆ เป็นทศนิยม 4 หน่วย ยกเว้นเงินเยนของญี่ปุ่นที่คิดเป็นทศนิยม 2 หน่วย แต่ไม่ต้องกังวลว่าท่านจะต้องคอยมานั่งคิดรายละเอียดเล็กๆ เหล่านี้ให้สับสนและเสียเวลา เพราะปัจจุบันแพลตฟอร์มเทรดส่วนใหญ่มี Trading robot ที่ช่วยคำนวณราคาที่แม่นยำได้ในทันที

None

จากกราฟ Forex ด้านบน จะเห็นได้ว่าราคา High สูงสุดของคู่เงิน GBP/USD เท่ากับ 1.27560 และราคาตำ่สุดเท่ากับ 1.26850 โดยเมื่อคำนวณส่วนต่างระหว่างราคา High และ Low จะคิดเป็น 0.0071 หรือ 71 pips นั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น หากท่านเทรด 1 ล็อต ใช่แล้ว! ในกรณีนี้ 1 pip ก็จะเท่ากับ $10 นั่นแหละครับ เรายังมีเคสจำลองมาให้ดูอีกนะ:

  1. หากท่านซื้อที่ 1.2756 และขายที่ 1.2685 ท่านก็จะขาดทุน 71 pips โดยหาก 1 pip เท่ากับ $10 ท่านก็จะขาดทุน $710 (71 pips * $10)
  2. หากท่านขายที่ 1.2756 และซื้อกลับที่ 1.2685 ท่านก็จะกำไร 71 pips ซึ่งคิดเป็นกำไร $710 (71 pips * $10)

ประเภทกราฟราคา (กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟแท่งเทียน)

แพลตฟอร์ม MetaTrader มีรูปแบบกราฟให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ กราฟเส้น (Line chart), กราฟแท่ง (Bar chart) และกราฟแท่งเทียน (Candlestick chart) ท่านสามารถเลือกรูปแบบกราฟโดยไปที่เมนู View - Toolbars - Standard option

กราฟเส้น

None

กราฟเส้นจะแสดงเส้นที่เชื่อมต่อกันระหว่างราคาปิดใน Timeframe ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในกราฟ Timeframe 1 เดือน เส้นกราฟจะเชื่อมต่อระหว่างราคาปิดของแต่ละวันในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยกราฟเส้นมีข้อดีคือช่วยให้เทรดเดอร์จับทิศทางของเทรนด์ได้

กราฟแท่ง OHLC

None

กราฟ OHLC เป็นกราฟแท่งบอกลำดับราคาในช่วงเวลาต่างๆ โดยกราฟแท่งนี้จะแสดงราคาเปิด, ราคา High, ราคา Low และราคาปิดใน timeframe ดังกล่าว เช่น ในกราฟรายชั่วโมง หรือรายวัน (OHLC ย่อมจาก Open, High, Low และ Close)

ขีดเล็กๆ ที่ยื่นออกมาด้านซ้ายแท่งเทียนจะเป็นตัวบอกราคาเปิด ในขณะเดียวกันขีดด้านขวาแท่งเทียนก็จะเป็นตัวบอกราคาปิดนั่นเอง และแน่นอนว่าจุดสูงสุดของแท่งเทียนก็จะเป็นราคา High และจุดต่ำสุดของแท่งเทียนก็คือราคา Low

None

เอาล่ะ! มาต่อเรื่องสีกันบ้าง แท่งเทียนสีเขียวที่ท่านเห็นคือแท่งสัญญาณขาขึ้น หรือฝั่ง Buy ซึ่งมีราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด และแท่งเทียนสีแดงคือแท่งสัญญาณขาลง หรือฝั่ง Sell โดยมีราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด

สรุปง่ายๆ ก็คือ กราฟแท่งช่วยบ่งบอกได้ว่าฝั่งไหนกำลังครองตลาดในขณะนั้น โดยแท่งสีเขียวคือฝั่งซื้อ (Buyer) และแท่งสีแดงคือฝั่งขาย (Seller)

กราฟแท่งเป็นกราฟพื้นฐานของกราฟประเภทต่อมา นั่นก็คือกราฟแท่งเทียนซึ่งถือเป็นกราฟเทรด Forex ที่นิยมใช้กันมากที่สุดนั่นเอง

กราฟแท่งเทียน (Candlestick)

None

ที่น่าประหลาดใจก็คือกราฟแท่งเทียนเริ่มต้นใช้กันแรกๆ ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยนักเทรดชาวญี่ปุ่นที่กำหนดให้กราฟมีลักษณะคล้ายแท่งเทียน โดยมีหลักการใช้งานคล้ายกันเนื่องจากมันสามารถบอกได้ทั้งราคาเปิด, ราคา High, ราคา Low และราคาปิดเช่นกัน

แต่ข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกราฟแท่ง OHLC และกราฟแท่งเทียนก็คือองค์ประกอบของตัวกราฟนั่นเองครับ โดยกราฟแท่งเทียนจะมีลักษณะเป็นกล่องที่อยู่ระหว่างราคาเปิดและราคาปิด หรือที่เราเรียกกันว่า ‘ตัวเทียน (Body)’ และมีเส้นบางๆ ด้านบนและด้านล่างตัวเทียน ซึ่งเรียกว่า ‘ไส้เทียน (Shadow)’ 

กรอบเวลา (Time frame): ตัวบอกเวลาในกราฟเทรด

None

การเลือกกรอบเวลา (Timeframe) ขึ้นอยู่กับว่าท่านต้องการวิเคราะห์สัญญาณเทรดแบบไหน และใช้กลยุทธ์เทรดแบบใด ซึ่งตัวโปรแกรม MetaTrader 4 มี timeframe ให้เลือกมากมาย:

  • กราฟรายเดือน, รายสัปดาห์ และรายวัน เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการถืออเดอร์ในระยะยาว หรือเน้นเทรดแบบ Swing trade หรือ Positional trading 
  • กราฟ 4 ชั่วโมง, กราฟรายชั่วโมง และกราฟครึ่งชั่วโมง (30 นาที) เหมาะสำหรับนักเทรดแบบ Intraday trading และถือออเดอร์เป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน
  • กราฟ 15 นาที, กราฟ 5 นาที และกราฟ 1 นาที เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ต้องการถือออเดอร์ระยะสั้นๆ 

หากท่านวิเคราะห์กราฟราคาโดยใช้กราฟ OHLC หรือกราฟแท่ง ท่านจะเห็นว่ามีแท่งเทียนแท่งใหม่ปรากฎขึ้นบ่อยๆ หรือตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น หากท่านอ่านกราฟใน Timeframe 5 นาที (5M) ท่านจะเห็นแท่งเทียนแท่งใหม่ปรากฎขึ้นมาทุกๆ 5 นาที

ทำไมนักเทรด Forex นิยมใช้กราฟแท่งเทียน

None

นอกจากกราฟแท่งเทียนจะเป็นรูปแบบกราฟที่ให้ข้อมูลละเอียดมากๆ แล้ว ยังเป็นกราฟที่ช่วยให้เทรดเดอร์สังเกตความเคลื่อนไหวของราคาได้ชัดเจนมากอีกด้วย

แท่งเทียนประเภทนี้ทำให้เทรดเดอร์เห็นภาพทิศทางราคาในระยะสั้น และคาดการณ์ได้ว่าราคาจะเป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง และอย่างที่เราบอกไปว่ากราฟแท่งเทียนสามารถบอกข้อมูลราคาได้ทั้งราคาเปิด, ราคาปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุด ในกรอบเวลาต่างๆ

สีของแท่งเทียนจะเป็นตัวบอกสถานะของราคาปิด โดยหากแท่งเทียนเป็นสีแดงหรือดำทึบ หมายความว่าราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด และหากแท่งเทียนเป็นสีเขียวหรือสีขาวโปร่ง นั่นหมายความว่าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดนั่นเอง

ไม่ต้องแปลกใจหากท่านเห็นไส้เทียนที่มีความสั้นยาวไม่เท่ากัน เพราะความยาวของไส้เทียนจะเป็นตัวบอกระดับราคา High และ Low นั่นเอง

รูปแบบกราฟแท่งเทียนขาขึ้น

None

แท่งเทียนรูปค้อน (Hammer candle) เป็นแท่งเทียนที่บ่งบอกว่ามีแรงซื้อที่พยายามต้านไม่ให้ราคาย่อลงทำ New low ได้และทำให้ราคากลับตัวขึ้นมาอีกครั้ง โดยเมื่อราคาเปิดและราคาปิด หรือตัวเทียนอยู่ที่ครึ่งด้านบนของแท่งเทียนที่มีลักษณะคล้ายค้านเกิดขึ้นนั้น นั่นหมายความว่าแรงซื้ออาจแข็งแกร่งมากพอที่จะดันให้ราคาเป็นขาขึ้นในไม่ช้า

รูปแบบแท่งเทียนขาขึ้นแบบ Harami ประกอบไปด้วยแท่งเทียนสีแดงแท่งแรก ตามมาด้วยแท่งเทียนสีเขียวแท่งที่สอง ซึ่งเป็นแพทเทิร์นที่บ่งบอกว่าทิศทางของราคาต่อไปอาจเบรคทะลุระดับของแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้าไปได้ในที่สุด บางท่านอาจรู้จักรูปแบบนี้ในชื่อ “Inside candle” เนื่องจากเป็นแท่งเทียนที่อยู่ตรงกลางระหว่างราคา High และ Low ของเทียนแท่งก่อนหน้านั่นเอง

แท่งเทียนสีเขียวที่อยู่ตรงกลางระหว่างแท่งสีแดงก่อนหน้าจะเป็นตัวบ่งบอกว่ามีโอกาสที่ราคาอาจปรับตัวขึ้นทะลุระดับก่อนหน้าไปได้

รูปแบบกราฟแท่งเทียนขาลง

None

แท่งเทียนรูปค้อนกลับหัว (Inverted Hammer) หรือแท่งเทียนดาวตก (Shooting star) เป็นแท่งเทียนที่บ่งบอกว่าอาจมีแรงซื้อจากฝั่ง Buy ที่ดันให้ราคาปรับตัวขึ้นไปทำ New high และจากนั้นก็จะมีแรงเทขายจากฝั่ง Sell ที่ฉุดให้ราคาร่วงกลับลงไปอีกครั้ง โดยเมื่อราคาเปิดและราคาปิด (ซึ่งเป็นบริเวณตัวเทียน) อยู่ตรงครึ่งล่างของแท่งเทียน นั่นหมายความว่าราคาอาจกลับตัวเป็นขาลงในที่สุด

รูปแบบแท่งเทียน Harami ขาลง ประกอบไปด้วยแท่งเทียนสีเขียวและตามด้วยแท่งเทียนสีแดงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าราคาอาจเบรคทะลุลงไปต่ำกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า และกลายเป็นขาลงในที่สุด และแน่นอนว่าเรายังเรียกแท่งเทียนชนิดนี้ได้อีกอย่างว่า ‘Inside candle’ นั่นเองครับ

แท่งเทียนสีแดงที่อยู่ตรงกลางระหว่างแท่งสีเขียวก่อนหน้าจะเป็นตัวบ่งบอกว่ามีโอกาสที่ราคาอาจปรับตัวลงทะลุระดับก่อนหน้าไปได้

วิธีอ่านกราฟแท่งเทียน

เอาล่ะครับ หลังจากทำความรู้จักรูปแบบกราฟแท่งเทียนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ลองมาทดสอบกันว่าท่านสามารถบอกได้ไหมว่าแท่งเทียนไหนเป็นแพทเทิร์นอะไร แน่นอนว่าเรามีเฉลยให้ด้านล่างครับ

กราฟนี้มีแพทเทิร์นอะไรบ้าง:

  • รูปแบบค้อนกลับหัว (Inverted Hammer)
  • รูปแบบแท่งเทียน Engulfing
  • รูปแบบ Harami ขาลง
  • รูปแบบ Harami ขาขึ้น

None

เป็นยังไงกันบ้างครับ? สังเกตเห็นแพทเทิร์นแท่งเทียนแบบไหนกันบ้าง? ลองมาดูคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย

None

สรุปได้ง่ายๆ ว่ากราฟที่ใช้เทรดกันนั้นจะมีทั้งหมด 3 แบบที่แตกต่างกัน โดยกราฟที่นิยมใช้เทรดกันมากที่สุดก็คือกราฟแท่งเทียน หรือกราฟ Candlestick นั่นเอง ซึ่งถ้าหากท่านสามารถบอกได้กราฟแท่งเทียนที่ท่านเห็นนั้นมีแพทเทิร์นแบบใด ก็จะทำให้ท่านเข้าใจสัญญาณของตลาดและวิเคราะห์แนวโน้มราคาได้ไม่ยาก

อย่าลืมติดตามบทความ Forex อื่นๆ ของเราที่ หน้าเรียนรู้การเทรด

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน