ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดเดิมของเดือนนี้ ขณะที่ความวิตกด้านสถานการณ์การเมืองและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่อ่อนค่าลงเป็นปัจจัยบวกต่อสกุลเงินที่มีความเสี่ยง
ขณะเดียวกัน ราคาทองคำยังสามารถปรับขึ้นได้เล็กน้อย ส่วนน้ำมันเบรนท์ (Brent) ก็บวกต่อเป็นวันที่ 5 โดยราคากำลังทะยานขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดเดิมของสัปดาห์นี้ เนื่องจากปัญหาอุปทานที่ตกต่ำซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในที่สุด
คู่เงิน NZDUSD ก็ได้รับอานิสงค์จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาตินิวซีแลนด์ (RBNZ) และหนุนคู่เงินของกลุ่มประเทศ G10 ส่วน AUDUSD ยังมีทิศทางไม่ชัดเจนท่ามกลางข้อมูลที่ปะปนกันไป
BTCUSD และ ETHUSD ก็ผันผวนหนัก ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาเตือนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Equity และคริปโตฯ
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์หลักหลายรายการ ดังนี้:
ยอดขายบ้านในสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัว ประกอบกับความคิดเห็นที่หลากหลายของผู้กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จากมุมมองในแง่ลบเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้อุปสงค์ของดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการหยุดชะงักของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่จุดต่ำสุดของเดือนนี้ ตลอดจนความวิตกกังวลของตลาดก่อนรายงานการประชุม FOMC
นอกจากนี้ สิ่งที่กดดันอารมณ์ความเชื่อมั่นของตลาดก็คือการหารือครั้งใหม่เกี่ยวกับการซ้อมรบทางทหารของจีนใกล้พรมแดนไต้หวัน และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
อย่างไรก็ตาม ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของยุโรปดูเหมือนจะมีมุมมองที่เป็นบวก และช่วยให้ค่าเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นติดต่อกันร่วมหนึ่งสัปดาห์ แม้ล่าสุดจะมีปรับตัวลงเล็กน้อย
ที่น่าสนใจคือ ตัวเลขการคลัง API รายสัปดาห์ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นกลับไม่สามารถสกัดการฟื้นตัวของน้ำมัน Brent ได้ อาจเป็นผลมาจากความหวังด้านอุปทานทั่วโลกและการไหลของน้ำมันต่อไป อย่างไรก็แล้วแต่ ความกังวลเกี่ยวกับโควิดในจีนและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ของ RBNZ ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ท้าทายราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่อไป
เงินคริปโตหลายๆ ตัวก็ยังคงรีบาวด์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Ether's Merge ก็ดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนนักลงทุนรายใหญ่ๆ ก็ยังคงผลักดันเงินเข้าสู่ Bitcoin แม้จะมีความเคลื่อนไหวที่ไม่สดใสเท่าไหร่นัก
ความผันผวนในตลาดรับต้นวันช่วยให้เงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น ขณะที่ตลาดต่างๆ มีแนวโน้มที่ผันผวนต่อเนื่องในไม่ช้าเนื่องจากข้อมูล/เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่กำลังจะมีการประกาศเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ มีการประชุมล่าสุดของ Fed และคำปราศรัยจากประธานาธิบดีคริสติน ลาการ์ด แห่ง ECB เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม รวมถึงยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐในเดือนเม.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากความผิดหวังล่าสุดเกี่ยวกับข้อมูลของสหรัฐ
อีกประเด็นที่น่าติดตามคือความความตึงเครียดระหว่างจีน-อเมริกัน และความกังวลจากเกาหลีเหนือขับเคลื่อนให้นักลงทุนเบนความสนใจไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ Fedspeak ที่ซ้ำซากเป็นสิ่งที่นักเทรด USD เริ่มเบื่อหน่ายที่จะติดตามต่อ
โดยสรุป ตลาดโลกมีแนวโน้มที่กลับเข้าสู่สภาวะตึงเครียดอีกครั้ง แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะได้รับอานิสงค์จากสถานการณ์ดังกล่าว
ทำกำไรจากความเคลื่อนไหวในตลาดด้วยระบบ Copy Trade ของ MTrading พร้อมเงื่อนไขชั้นนำ:
คัดลอกการเทรดของนักเทรดมือโปรโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ด้วยค่าสเปรด 0 ผ่านบัญชี M.Pro!
ขอให้ท่านโชคดีในการเทรด!