ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading • 2024-07-23

ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวที่จุดต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ ท่ามกลางตลาดที่ผันผวน จับตามองการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปริมาณสินค้าคงคลัง API

ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวที่จุดต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ ท่ามกลางตลาดที่ผันผวน จับตามองการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปริมาณสินค้าคงคลัง API

ตลาดมีความผันผวนสูงหลังจากนักลงทุนกลับมามีความเชื่อมั่นมากขึ้นในวันก่อนหน้า การขาดแรงขับเคลื่อนในตลาดอาจเกิดจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางรายสำคัญๆ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นล่าสุดในเวทีการเมืองสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น ยังช่วยให้สกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงสามารถชะลอการร่วงลงก่อนหน้า และท้าทายสินทรัพย์ปลอดภัย

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) แกว่งตัวอยู่ที่ประมาณ 104.30 หลังจากปิดตลาดในวันจันทร์ด้วยการยุติการพุ่งสูงขึ้นสองวันติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD พลิกกลับการฟื้นตัวขึ้นจากช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ในขณะที่คู่เงิน USDJPY ปรับตัวลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน

คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศจะออกมาในทิศทางที่ดีขึ้นก็ตาม ในขณะที่คู่เงิน NZDUSD ทดสอบระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม โดยร่วงลงติดต่อกันสี่วัน นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังคงปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบห้าสัปดาห์ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา จะหยุดการร่วงลงสามวันติดต่อกันที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งเดือน

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยร่วงลงติดต่อกันห้าวัน เนื่องจากนักลงทุนยังคงอยู่ในภาวะ consolidate จากราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดตลอดกาล และลดความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยลง ท่ามกลางความเชื่อมั่นเชิงบวกในเวทีการเมืองสหรัฐฯ นอกจากนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจจากจีนยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำให้ปรับลดลงอีกด้วย

ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีดูเหมือนจะยังขาดความเชื่อมั่น แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) จะอนุมัติ spot ETH ETFs โดยเริ่มทำการซื้อขายตั้งแต่วันอังคารนี้ (23 กรกฎาคม 2024) ก็ตาม โดยทั้ง BTCUSD และ ETHUSD ไม่สามารถปรับตัวขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆต่อความเชื่อมั่นเชิงบวกก่อนหน้าเกี่ยวกับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯของ Donald Trump

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงต่อเนื่องสามวันติดต่อกันที่ระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ประมาณ $78.40
  • ทองคำ (Gold) ยังคงร่วงลงเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน แม้จะมีการปรับตัวลงเล็กน้อยที่ประมาณ $2,391
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงอยู่ในโหมด sidelined ที่ประมาณ 104.30 โดยพยายามรักษาระดับจากการร่วงลงเมื่อช่วงเริ่มต้นสัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวก ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร มีความผันผวนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงถูกกดดันหลังจากมีสัญญาณต้อนรับแรงเทขายในวันก่อนหน้า โดยล่าสุดอยู่ที่ประมาณ $66,500 และ $3,440 ตามลำดับ

ปัจจัยทางเศรษฐกิจจำกัดการเคลื่อนไหวของดอลลาร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูล...

หุ้นเทคโนโลยีพลิกกลับจากการร่วงลงอย่างหนักในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐฯที่ปรับลดลงและปฏิทินเศรษฐกิจที่ยังคงเบาบาง ยังช่วยให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดตลาดในแดนบวก และกดดันสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ และทองคำ ให้ปรับตัวลดลง

ในทางการเมือง การถอนตัวออกจากการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความสามารถของรองประธานาธิบดี Kamala Harris ในการเข้ารับช่วงต่อในการเป็นผู้แทนของพรรคเดโมแครต ยังทำให้สถานการณ์ความไม่แน่นอนผ่อนคลายลงและช่วยสร้างความเชื่อมั่นครั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม การขาดการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจและช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งราวๆ 3.5 เดือน ยังจำกัดการเคลื่อนไหวเชิงบวกของตลาดก่อนการรายงานปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) Peter Kažimír ร่วมกับผู้กำหนดนโยบายรายอื่นๆได้มีการเสนอแนะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยสถานการณ์นี้ ทำให้เกิดการท้าทายแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD แม้ว่าคู่เงินยูโรจะดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ โดยยุติการร่วงลงติดต่อกัน 2 วัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การพิจารณาอย่างรอบคอบของธนาคารกลางเยอรมัน (Bundesbank) เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจช่วยหนุนราคาคู่เงินยูโรได้ ทั้งนี้ คู่เงินยูโรปรับตัวลงในเช้าวันอังคาร ก่อนการเปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนกรกฎาคม รวมไปถึงการรายงานยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายน และดัชนีภาคการผลิตของธนาคารสหรัฐฯประจำริชมอนด์ในเดือนกรกฎาคม

คู่เงิน GBPUSD ยุติการร่วงลงติดต่อกันสองวัน ก่อนที่จะกลับมาปรับลดลงเล็กน้อยในเช้าวันอังคาร การถอยตัวลงล่าสุดของคู่เงิน Cable สะท้อนถึงความกังวลของตลาดเกี่ยวกับความสามารถของรัฐบาลสหราชอาณาจักรในการลดทอนความกังวลด้านเศรษฐกิจและคงการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างเตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ร่วงลงครึ่งเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ขยายการปรับตัวลงต่อเนื่องจากแนวรับที่เปลี่ยนเป็นแนวต้านอายุเจ็ดเดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัจจัยกระตุ้นมากนักที่ส่งผลกับการร่วงลงล่าสุดของคู่เงินเยน แต่ความคิดเห็นของ Toshimitsu Motegi เลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย(Liberal Democratic Party หรือ LDP) พรรครัฐบาลญี่ปุ่น ที่กล่าวว่า เขาคิดว่านโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ควรชัดเจนยิ่งขึ้นนั้น ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน USDJPY นอกจากนี้ ข่าวลือเกี่ยวกับความพยายามของ BoJ ในการคงนโยบายการเงินที่เข้มงวด ตรงกันข้ามกับความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ยังคงสร้างความหวังให้กับแรงเทขายคู่เงินนี้

ในอีกทางหนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ANZ-Roy Morgan ของออสเตรเลียรายสัปดาห์พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน และปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD กลับไม่ตอบรับเชิงบวกต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สดใสนี้ และยังเมินเฉยต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ท่ามกลางความกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัว นอกจากนี้ ปัจจัยที่ท้าทายแรงเทซื้อคู่เงินออสซี่และคู่เงินกีวีเพิ่มเติม คือการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ไม่เพียงแต่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD เท่านั้น แต่คู่เงิน USDCAD ก็ยังปรับตัวลงเช่นกัน โดยไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงและเตรียมพร้อมของตลาดสำหรับการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ในสัปดาห์นี้

โดยราคาน้ำมันดิบกำลังเผชิญกับแรงกดดันและพยายามที่จะรักษาระดับราคา ท่ามกลางความต้องการในช่วงฤดูร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากความกังวลว่าการบริโภคพลังงานของจีนจะชะลอตัวลง แม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก ประกอบกับการส่งออกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากรัสเซียและ OPEC ที่ยังช่วยหนุนแรงเทขาย ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ราคาน้ำมันดิบค่อยๆฟื้นตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ หลังจากปรับลดลงติดต่อกันสามวัน นอกจากนี้ การคาดการณ์ของ Morgan Stanley ที่ว่า ตลาดน้ำมันจะเผชิญกับภาวะสินค้าล้นตลาด (surplus) ในปี 2025 รวมถึงการคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จะปรับเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาน้ำมันดิบ แม้ว่าจะมีการดีดตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ราคาทองคำดูเหมือนว่าจะยังแบกรับภาระจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองล่าสุดในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีกระแสความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของจีนที่ท้าทายแรงเทซื้อทองคำอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการคาดการณ์ว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีการปรับตัวลงยังคงหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำไว้

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซนและข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ กระตุ้นนักเทรดรายวันระหว่างวัน...

แม้ว่าปฏิทินเศรษฐกิจจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การรายงานตัวเลขเบื้องต้นของข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนประจำเดือนกรกฎาคมจะเป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางของคู่เงิน EURUSD ในระยะสั้น นอกจากนี้ สิ่งที่ควรจับตามองอีกประการหนึ่งคือ ตัวเลขยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯในเดือนมิถุนายน และดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์สำหรับเดือนกรกฎาคม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มที่จะถดถอยลง ต่างจากตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจของยุโรปที่คาดว่าจะมีทิศทางดีขึ้น คู่เงินยูโรอาจจะฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี หากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดีเกินคาด จะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น และกดดันให้สกุลเงินหลักและสินค้าโภคภัณฑ์อย่างราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ รายงานปริมาณสินค้าคงคลังน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) จะมีความสำคัญต่อนักลงทุนน้ำมันดิบเช่นกัน เนื่องจากแม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบจะปรับลดลงในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่แรงเทขายในตลาดพลังงานยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มที่จะขยับตัวสูงขึ้น