ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-04-22

น้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากร่วงหนักในรอบสัปดาห์ เนื่องจากความเสี่ยงที่เบาบางลงก่อนสัปดาห์รายงานข้อมูลสำคัญ

น้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากร่วงหนักในรอบสัปดาห์ เนื่องจากความเสี่ยงที่เบาบางลงก่อนสัปดาห์รายงานข้อมูลสำคัญ

นักลงทุนต่างสังเกตเห็นการพักตัวของการเคลื่อนไหวของตลาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังในช่วงเช้าวันจันทร์ เมื่อปัจจัยนี้ควบคู่ไปกับความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญของสัปดาห์นี้ ก็ส่งผลให้เกิดการท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นดอลลาร์สหรัฐฯแต่กลับไม่สามารถช่วยหนุนให้แรงเทซื้อทองคำสามารถยึดทิศทางของราคาเอาไว้ได้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2024 ท่ามกลางความกังวลเรื่องความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลงและความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ลดต่ำลงอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในจีน

ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน EURUSD จึงขยายการฟื้นตัวของสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ค่อยๆฟื้นตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบปีหลังจากร่วงลงในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาติดต่อกัน นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังแกว่งตัวที่จุดสูงสุดในรอบ 34 ปีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ปรับตัวสูงขึ้นโดยชะลอแนวโน้มขาลงสองสัปดาห์

ทั้งนี้ BTCUSD และ ETHUSD ได้ขยายการฟื้นตัวหลังจากการร่วงลงสามสัปดาห์ติดต่อกัน เนื่องจากการยุติเหตุการณ์การลดจำนวนลงครึ่งหนึ่ง (halving) ของ Bitcoin ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่ดีในหมู่เทรดเดอร์สกุลเงินดิจิทัลด้วยเช่นกัน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ร่วงลงมากกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ประมาณ $86.50 หลังจากมีการร่วงลงอย่างหนักในรอบสัปดาห์
  • ทองคำ (Gold) ยุติการพุ่งสูงขึ้นสองวันโดยร่วงลงราวๆ 1.30% ระหว่างวันไปที่ประมาณ $2,360
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงผันผวนที่ประมาณ 106.00 โดยขยับตัวขึ้นเล็กน้อยหลังจากแนวโน้มขาขึ้นสองสัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 2.0% ระหว่างวันที่ประมาณ $66,000 และ $3,230 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการแข็งค่าขึ้นล่าสุด...

ดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยขาลง ท่ามกลางการพักตัวของตลาดก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญ โดยข่าวสารที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่หลากหลายอาจท้าทายดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน

เมื่อพูดถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อตลาด สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนทวีความรุนแรงขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศเก็บภาษีขาเข้าสินค้า กรดโพรพิโอนิก ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง และเวชภัณฑ์ จากสหรัฐฯที่อัตรา 43.5%

ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่านให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Reuters ว่า "ไม่มีแผนการตอบโต้ในทันที" ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านนั้นปรับลดลง และสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาน้ำมันดิบ

เป็นที่น่าสังเกตว่า Gita Gopinath รองผู้อำนวยการคนแรกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวปาฐกถาในเวทีการคลังในการประชุมฤดูใบไม้ผลิร่วมกันของ IMF และธนาคารโลกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยเธอได้ชี้ให้เห็นทั้งความกังวลที่เกิดจากการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกันก็ยังชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ Gita Gopinath จาก IMF ได้ระบุว่า "การขาดดุลการคลังของสหรัฐฯในระดับสูงนั้นได้ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการภายในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย" อย่างไรก็ตาม เธอก็กล่าวเสริมว่า "แต่สิ่งที่ควบคู่ไปกับการเติบโตนั้น คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น โดยทั้งสองปัจจัยหลังนี้กำลังสร้างความยุ่งยากมากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจโลก"

นอกเหนือไปจาก Gopinath แล้ว Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ธนาคารกลางจะต้องดำเนินการต่อเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะช่วยหนุนความหวังของตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงในอนาคต

อย่างไรก็ตาม รายงานเสถียรภาพทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประจำครึ่งปี ระบุว่า เงินเฟ้อที่ยังคงอยู่และนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด และยังส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แม้จะยังไม่มีข้อมูลหรือเหตุการณ์สำคัญใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนช่วงเวลา blackout สองสัปดาห์ก่อนการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC)

ในอีกด้านหนึ่ง Alan Goolsbee ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียงในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ได้ออกมากล่าวว่า ธนาคารกลางประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการรักษาอัตราการจ้างงาน แต่ยังไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ เขายังกล่าวเสริมอีกว่า "การคาดการณ์เงื่อนไขสำหรับการปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ก่อประโยชน์"

ด้วยเหตุนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจึงปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ท้าทายแรงเทซื้อทองคำและน้ำมันดิบในช่วงหลัง

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 แม้ว่า Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะออกมากล่าวว่า "ไม่ว่าข้อมูลที่กำลังจะมีการรายงานออกมานั้นจะเป็นอย่างไร เราก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะหาทางและจังหวะในการลดปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB)" เขายังเสริมอีกว่า "หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เราก็มีแนวโน้มอย่างมากที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป" อย่างไรก็ตาม หัวหน้าผู้แทนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำประเทศญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง โดยระบุว่า ผลกระทบของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้น โดยรวมแล้วเป็นผลดี

นอกจากนั้น คู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบปี แม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง โดยเหตุผลอาจเกี่ยวข้องกับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่มีทิศทางเป็นบวกล่าสุดจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวมไปถึงความคาดหวังเชิงบวกต่อการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของทวีปยุโรปจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

โดยในความเห็นล่าสุดของ Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า "หากสามารถบรรลุเงื่อนไขเงินเฟ้อ การลดระดับนโยบายการเงินที่เข้มงวดในปัจจุบันจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม" สอดคล้องกันกับ Francois Villeroy de Galhau สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ออกมากล่าวว่า ปัญหาความตึงเครียดในตะวันออกกลางไม่ควรส่งผลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน และจะมีการดำเนินการเพิ่มเติมต่อไป นอกจากนี้ Madis Muller สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้กล่าวว่า เขาคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งภายในสิ้นปีนี้หลังจากการปรับลดในเดือนมิถุนายน หากเศรษฐกิจเป็นไปตามคาดการณ์ของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตาม Wunsche สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) อีกคนระบุว่า เขายังไม่มีมุมมองที่ชัดเจน แต่ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024

อีกทางด้านหนึ่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจยุโรปกำลังเข้าใกล้สภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) แต่ยังมีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ยังมีการรายงานว่า เยอรมนีได้ปรับเพิ่มการประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี อีกทั้ง Kammer เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังออกมากล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นหรือผ่อนคลายลงโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ในทางตรงกันข้าม คู่เงิน GBPUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากท่าทีที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Catherine Mann ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่กล่าวว่า ธนาคารกลางจะต้องใช้ความเป็นอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกันกับ Dave Ramsden รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่กล่าวว่า "เราจะพิจารณาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อเงินเฟ้อ"

ทั้งนี้ คู่เงิน AUDUSD และ NZDUSD ได้รับแรงหนุนจากการดึงกลับของดอลลาร์สหรัฐฯ และความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังในตลาด ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD ปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ถดถอยลง ซึ่งนับว่าเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาและท่าทีที่ผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Tiff Macklem ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) โดยในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา Macklem ได้ออกมาระบุว่า "เงินเฟ้อเริ่มกระจายตัวน้อยลง"

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

การเริ่มต้นสัปดาห์ที่สำคัญอย่างซบเซา…..

ในขณะที่ความกังวลก่อนหน้าการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญอาจจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดในวันจันทร์ การขาดปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจนในปฏิทินเศรษฐกิจก็อาจจะส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดด้วยเช่นกัน สถานการณ์เดียวกันนี้ยังบ่งชี้ถึงการพักตัวอย่างต่อเนื่องของการเคลื่อนไหวของตลาดจากช่วงต้นวัน แต่อย่างไรก็ตาม การรายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ ยูโรโซนประจำเดือนเมษายน แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Lagarde และดัชนีชี้วัดกิจกรรมระดับชาติของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโกประจำเดือนมีนาคม (Chicago Fed National Activity Index) นั้นจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดในระดับหนึ่งเช่นเดียวกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !