ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-10-10

ราคาทองคำทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ ก่อนการประกาศข้อมูลดัชนี CPI ของสหรัฐฯ

ราคาทองคำทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ ก่อนการประกาศข้อมูลดัชนี CPI ของสหรัฐฯ

ตลาดทรงตัวจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้า ก่อนการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

ช่วงเช้าวันพฤหัสบดี บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังคงเปราะบาง เนื่องจากนักเทรดกำลังมองหาสัญญาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดที่ชะลอตัวลงนี้ยังถูกซ้ำเติมด้วยสัญญาณความผันผวนจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางและความไม่แน่นอนที่ยังคงมีอยู่เกี่ยวกับจีน

อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ในวันพุธไม่ได้แสดงถึงข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายในอนาคตของธนาคารกลางสหรัฐฯมากนัก นอกจากการยืนยันถึงการสนับสนุนอย่างเต็มที่สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนกันยายน นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำบอสตัน Susan Collins และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำซานฟรานซิสโก Mary Daly ยังมีท่าทีขัดแย้ง ถึงกระนั้น กลับไม่มีสัญญาณสำคัญสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำดัลลัส Lorie Logan และความกังวลที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางและจีนยังช่วยหนุนให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ให้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบแปดสัปดาห์

ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สกุลเงินหลักอื่นๆพยายามฟื้นตัวจากการปรับตัวลง

จากความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงแกว่งตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายวัน ซึ่งส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆชะลอการปรับตัวลงก่อนหน้านี้

ในหมู่สกุลเงินเหล่านั้น คู่เงิน EURUSD ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ขณะที่ราคายังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม ท่ามกลางการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯและความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจของยูโรโซน นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายหลายคนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางในภูมิภาคยุโรป ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อคู่สกุลเงินหลัก

ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD ก็เคลื่อนไหวใกล้กับระดับต่ำสุดในรอบสี่สัปดาห์เช่นกัน เนื่องจากเทรดเดอร์ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและความสามารถของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงนี้

ในอีกทางหนึ่ง ช่วงแนวโน้มขาขึ้นคู่เงิน USDJPY พักตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ขณะที่นักเทรดเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างหนักของ Fed ในช่วงที่เหลือของปี 2024 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อมูลสถิติล่าสุดจากเอเชียส่วนใหญ่มีความผันผวน และนายกรัฐมนตรี (PM) คนใหม่ที่กำลังจะเข้ามาดำรงตำแหน่งยังมีท่าทีที่อ่อนลงจากการสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเปิดเผยก่อนหน้านี้

Antipodeans ยังคงเผชิญกับแรงกดดัน

นอกจากภาวะ consolidation ก่อนการประกาศข้อมูลสำคัญ ตลาดยังคงมีสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงเชิงบวกที่ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐฯยังถูกกดดันก่อนการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินจากจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศในวันเสาร์นี้โดยกระทรวงการคลังของจีน ยังได้ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และท้าทายการปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ของสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans

อีกทั้ง ความเชื่อมั่นที่ได้รับแรงหนุนจากจีนยังทำให้คู่เงิน AUDUSD สามารถยุติการร่วงลงติดต่อกันห้าวันได้ แม้ว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคในเดือนตุลาคมจะออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ก็ตาม ในทำนองเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD กำลังทรงตัวหลังจากการร่วงลงอย่างรวดเร็วของระดับราคา เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมีนัยสำคัญของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) แม้ว่าจะไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังเกิดการดึงกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองเดือน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดา

สินค้าโภคภัณฑ์ขาดแรงฟื้นตัว

ภาวะ consolidation ของตลาดเป็นอุปสรรคสำหรับแรงเทขายทองคำและน้ำมันดิบ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งสองได้ เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนี้ ความพร้อมของ OPEC+ ในการเพิ่มกำลังการผลิต และสถานการณ์ที่ส่อเค้ารุนแรงยิ่งขึ้นในสงครามระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ยังเป็นการทดสอบความเชื่อมั่นของแรงเทซื้อน้ำมันในช่วงนี้อีกด้วย

โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบเจ็ดวัน ขณะที่เทรดเดอร์พยายามฟื้นตัวจากความเสียหายที่ระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่ชะลอการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม การที่จีนหยุดเพิ่มปริมาณทองคำในทุนสำรองเป็นเวลากว่าห้าเดือน ประกอบกับความกังวลทางเศรษฐกิจของประเทศและการดีดตัวขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ล้วนมีส่วนทำให้ราคาทองคำถอยห่างจากจุดสูงสุดตลอดกาล

สกุลเงินดิจิทัลยังคงมีแนวโน้มร่วงลงในรอบสัปดาห์

แม้จะมีการดีดตัวสูงขึ้นในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี แต่ Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลงในรอบสัปดาห์ ซึ่งแนวโน้มนี้ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินที่อาจเกิดขึ้น และท่าทีที่เข้มงวดของรัฐบาลสหรัฐฯต่อบริษัทและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการคริปโต

เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยุติการร่วงลงติดต่อกันสองวัน โดยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยใกล้กับที่ระดับประมาณ $73.60
  • ทองคำ (Gold) ปรับตัวสูงขึ้นครั้งแรกในรอบเจ็ดวัน โดยอยู่ที่ประมาณ $2,615
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) แกว่งตัวใกล้ระดับ 102.90 หลังจากพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบแปดสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย ส่งผลให้ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ปรับตัวขึ้นเช่นกัน แม้จะยังขาดโมเมนตัมในช่วงหลัง
  • BTCUSD และ ETHUSD ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ที่ประมาณ$61,000 และ $2,400 ตามลำดับ

‘Consumer-centric’ อยู่ในสปอตไลท์

หลังจากที่มีการส่งสัญญาณออกมาในหลากหลายทิศทางจากรายงานการประชุมของ Fed และการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของดอลลาร์สหรัฐฯ นักเทรดได้หันมาให้ความสนใจกับการประกาศข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯประจำเดือนกันยายนในวันพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้ จะมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมในวันศุกร์ อย่างเช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CSI) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน การคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)

แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดล่าสุดจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง อาจได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่มีทิศทางเป็นบวก และอาจช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าขึ้นอีกด้วย ในอีกทางหนึ่ง การแข็งค่าของดอลลาร์อาจนำไปสู่การปรับราคาในทองคำ คู่เงิน USDJPY คู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน EURUSD ได้ อย่างไรก็ตาม สกุลเงินหลักและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆก็อาจต้องเผชิญกับความยากลำบาก เว้นแต่ว่าจะมีผลการรายงานจะออกมาอย่างคาดไม่ถึงอย่างมาก

การคาดการณ์สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ชี้ว่ามีแนวโน้มลดลงเหลือ 2.3% เมื่อเทียบปีต่อปี (YoY) และ 0.1% เมื่อเทียบรายเดือน (MoM) สำหรับเดือนกันยายน โดยลดลงจาก 2.5% และ 0.2% ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CSI) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ในเดือนตุลาคมคาดว่าจะปรับตัวขึ้นจาก 70.1 เป็น 70.8 ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) อาจลดลง 0.1% เมื่อเทียบปีต่อปี (YoY) และเมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM)

นอกจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้ว ปฏิทินเศรษฐกิจยังมีการรายงานการรับฟังรายงานนโยบายการเงินจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) รวมไปถึงข้อมูลสำคัญชุดใหญ่จากสหราชอาณาจักร และรายงานการจ้างงานรายเดือนของแคนาดา แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจจากสหราชอาณาจักรไม่น่าจะสามารถช่วยหนุนคู่เงิน GBPUSD ได้ แต่ข้อมูลการจ้างงานของแคนาดาที่แข็งแกร่ง ก็อาจทำให้คู่เงิน USDCAD เกิดการดึงกลับของระดับราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวดีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

การคาดการณ์สำหรับสินทรัพย์หลัก

  • คาดว่าจะฟื้นตัว: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • มีแนวโน้มปรับลดลงต่อไป: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • คาดว่าจะเคลื่อนไหวในโหมด Sideways: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • คาดว่าจะค่อยๆปรับลดลงและปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!