การฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯผนวกกับการส่งสัญญาณที่มีแนวโน้มสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจาก Fed ช่วยหนุนความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางช่วงการซื้อขายที่ซบเซา อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในตลาดยังคงรอการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญประจำสัปดาห์นี้ ในขณะที่ยังคงการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ซึ่งกลายเป็นแรงสนับสนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นวันพฤหัสบดี แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมก็ตาม
ในสถานการณ์เดียวกันนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) อยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีและ 30 ปี ขยายการฟื้นตัวจากวันก่อนหน้า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรคู่ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD ร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกันสอดคล้องกับความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงวันหยุดในตลาดยุโรปหลายแห่ง นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวลดลง ขณะที่เตรียมพร้อมสำหรับช่วงการซื้อขายในวัน “Super Thursday” ที่มีการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น แม้จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในหลากหลายทิศทาง แต่คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD นั้นขาดแรงขับเคลื่อน ขณะที่เทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดประสบปัญหาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังรักษาระดับการฟื้นตัวในช่วงวันพุธจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เช่นเดียวกันกับราคาทองคำที่ฟื้นตัวจากการร่วงลงติดต่อกัน 2 วันภายในรูปแบบการกลับตัวของช่วงขาขึ้นอายุ 7 สัปดาห์
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD พุ่งสูงขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 วัน ขณะเดียวกันก็ขยายการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบสัปดาห์ ที่น่าสังเกตคือ บรรดาเทรดเดอร์คริปโตต่างรู้สึกกังวลจากการคาดการณ์เกี่ยวกับคำสั่งห้ามใช้สิทธิ์วีโต้ของประธานาธิบดี Joe Biden แห่งสหรัฐฯที่อนุญาตให้มีการดูแลรักษาบิตคอยน์โดยสถาบันการเงินที่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดสกุลเงินดิจิทัลไปเมื่อวันก่อน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำบอสตัน Susan Collins ยังคงยืนยันนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปัจจุบัน แต่ได้เตือนถึงแนวโน้มการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่อาจจะยืดเยื้อ ในขณะเดียวกัน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ Lisa D. Cook ชี้ว่า ความเสี่ยงจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์นั้นมี “มากแต่สามารถจัดการได้” โดยยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อความยืดหยุ่นของระบบการเงิน
นอกเหนือไปจากการพูดคุยกันของ Fed ที่มีการคาดการณ์ไปในหลากหลายทิศทาง ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าว การคาดการณ์เชิงบวกของโมเดล GDPNow ของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาเกี่ยวกับตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นจาก 3.3% เป็น 4.2% ส่งผลดีต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังฟื้นตัว นอกจากนี้ ตัวเลขการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสมาคม MBA ประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.6% จาก -2.3% ในสัปดาห์ก่อนหน้า ยังส่งผลร่วมกับความกังวลใหม่ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ในจีนและปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยท้าทายความเชื่อมั่นของตลาดและส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น
อีกทางด้านหนึ่ง สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับประเด็นนี้ว่า สหรัฐฯกำลังพิจารณาการดำเนินการเพื่อปกป้องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของสหรัฐฯจากจีน โดยเบื้องต้นมีแผนที่จะคุ้มครองโมเดล AI ที่ก้าวหน้าที่สุดเป็นอันดับแรก
อีกทั้ง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของจีนอย่าง Country Garden ได้มีการแจ้งว่าจะทำการเลื่อนการชำระคูปองดอกเบี้ยพันธบัตรที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่ 3.95% จากกำหนดการเดิมในวันที่ 9 พฤษภาคม ไปเป็นวันที่ 13 พฤษภาคม โดยบริษัทอ้างถึงยอดขายที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา
แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะยังประสบปัญหา แต่ดุลการค้าของจีนประจำเดือนเมษายนกลับปรับตัวดีขึ้น ทั้งในสกุลเงินหยวน (CNY) และดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์ขยายการฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายวันพุธที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวะตลาดที่ค่อนข้างซบเซา และยังช่วยบรรเทาสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอีกด้วย ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสังเกตคือ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก สืบเนื่องมาจากสัญญาณที่ผันผวนจากจีน
แม้ว่าจะไม่มีการรายงานข้อมูลหรือเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจใดๆ แต่ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯประกอบกับความคิดเห็นที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนักจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน EURUSD อย่างไรก็ตาม Pierre Wunsch สมาชิกสภากำกับนโยบายของ ECB ระบุว่าเขามองเห็นโอกาสที่จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่ Robert Holzmann อีกหนึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป ได้ออกมากล่าวว่า "เขาไม่เห็นเหตุผลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วเกินไป"
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวลดลงจากการพุ่งสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนการรายงานการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางความคาดหวังที่จะเห็นธนาคารกลางอังกฤษส่งสัญญาณการหยุดการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ถึงกระนั้น การพูดคุยกันถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อเงินปอนด์สเตอร์ลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น
รายงานสรุปความคิดเห็นล่าสุดจากการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อวันที่ 25-26 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าวรอยเตอร์สชี้ว่า คณะกรรมการ BoJ ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยต่างเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะพุ่งสูงเกินเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม บทสรุปดังกล่าวยังได้กล่าวถึงการคาดการณ์ว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะยังคงดำเนินต่อไป ซึ่ง Kazuo Ueda ผู้ว่าการ BoJ มีท่าทีที่แตกต่างออกไป โดยแสดงความไม่พอใจกับการที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ผู้กำหนดนโยบายยังกล่าวอีกว่า "หากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน (FX) ส่งผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องตอบสนองด้วยนโยบายการเงิน" ถึงแม้จะมีความเคลื่อนไหวจากธนาคารกลางญี่ปุ่น แต่คู่เงิน USDJPY ยังคงทิศทางขาขึ้นเป็นวันที่ 4 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยดีนัก อีกทั้ง ค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่น (Real Wages) ยังปรับลดลงเป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกันในเดือนมีนาคม ขณะที่ ดัชนีชี้พ้อง (Coincident Index) และดัชนีชี้นำ (Leading Index) ประจำเดือนมีนาคมก็มีการรายงานออกมาในระดับที่ไม่น่าประทับใจ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นในวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ร่วงลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน สืบเนื่องมาจากสหรัฐฯมีแผนที่จะเติมน้ำมันกลับเข้าไปในคลังสำรองยุทธศาสตร์ปิโตรเลียม (SPR) ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลางและตัวเลขสำรองน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯที่ปรับลดลงอย่างน่าประหลาดใจ
ทางฝั่งของราคาทองคำปรับตัวลดลง 2 วันติดต่อกันก่อนที่จะมีการฟื้นตัวเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี ถึงแม้ราคาทองคำจะมีการปรับตัวขึ้นบ้าง แต่ยังคงเคลื่อนไหวภายในรูปแบบการกลับตัวของกราฟขาขึ้นอายุสองเดือน ท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางและความเชื่อมั่นในตลาดที่ผันผวน รวมไปถึงเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น
วันพฤหัสบดีนี้ คู่เงิน GBPUSD มีแนวโน้มที่จะเป็นที่จับตามอง เนื่องจากมีรายงานนโยบายการเงินประจำไตรมาสของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ถึงแม้ว่า "Old Lady" ( ชื่อที่เป็นที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการของ BoE ) ไม่น่าจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในปัจจุบัน แต่นักลงทุนในตลาดจะยังคงติดตามการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจและแถลงการณ์ของผู้ว่าการ Andrew Bailey เพื่อหาทิศทางที่ชัดเจน โดยรวมแล้ว เงินปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) มีโอกาสน้อยที่จะได้ประโยชน์จากการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันนี้ เว้นแต่ว่าจะมีการประกาศมาตรการที่รุนแรงเกินไป ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะได้รับความน่าเชื่อถือใดๆ และอาจฉุดคู่เงิน GBPUSD ลงมาหลังจากการพุ่งสูงขึ้นในช่วงแรก
นอกเหนือไปจากการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แล้ว ตัวเลขการยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ และแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของแคนาดาและยุโรปยังจะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ช่วงวันหยุดในตลาดยุโรปหลายแห่งประกอบกับการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญของสหรัฐฯที่เบาบางและการพูดคุยกันของ Fed ที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางอาจจะท้าทายความผันผวนในตลาด ซึ่งในทางกลับกันอาจช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถรักษาระดับการแข็งค่าขึ้นล่าสุดได้ เว้นแต่ว่าจะพบเห็นปัจจัยลบที่รุนแรง
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !