ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-05-03

EURUSD ยังคงมุ่งหน้าสู่แนวโน้มขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สาม ขณะการรายงานตัวเลขการจ้างงานและข้อมูลกิจกรรมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

EURUSD ยังคงมุ่งหน้าสู่แนวโน้มขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สาม ขณะการรายงานตัวเลขการจ้างงานและข้อมูลกิจกรรมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงผันผวนในเช้าวันศุกร์นี้ ขณะที่ นักลงทุนกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลการจ้างงานและข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯประจำเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง รวมไปถึงธนาคารกลางสหรัฐฯที่มีท่าทีลังเลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวดีขึ้นยังคงหนุนให้แรงเทซื้อยังมีความหวัง

ด้วยสถานการณ์เดียวกันนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงเตรียมร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สอง และยังเป็นผลให้สกุลเงินหลักและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆสามารถขยายการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ก่อนหน้าได้

สำหรับคู่เงิน EURUSD ยังคงมองเห็นแนวโน้มขาขึ้นสามสัปดาห์ ในขณะที่ปรับตัวสอดคล้องกับตัวเลข GDP ของยูโรโซนที่มีการรายงานล่าสุด โดยคู่เงิน GBPUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน AUDUSD เตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สอง นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังยุติแนวโน้มขาขึ้นสี่สัปดาห์ขณะที่มีการร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 ท่ามกลางความพยายามของญี่ปุ่นในการพยุงค่าเงินเยน

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯและยังคงถูกกดดัน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายวันท่ามกลางปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ผันผวน

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ส่งสัญญาณถึงแนวโน้มขาลงห้าสัปดาห์ ในขณะที่ ETHUSD ร่วงลงในรอบสัปดาห์ เนื่องจากเทรดเดอร์วิตกกังวลถึงความยากลำบากที่อาจต้องเผชิญมากขึ้นจากการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ (US SEC)

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) พยายามรักษาระดับการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ ซึ่งยังคงซบเซาที่ประมาณ $84.70
  • ทองคำ (Gold) ยังคงปรับตัวลงที่ประมาณ $2,300 โดยเตรียมร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) แกว่งตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์โดยยังผันผวนที่ประมาณ 105.30
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงผันผวนที่ประมาณ $59,400 และ $2,990 ตามลำดับ โดยเตรียมร่วงลงอย่างหนักในรอบสัปดาห์
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลงก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ...

ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีการรายงานออกมาล่าสุดไม่ได้สนับสนุนการพูดคุยเดิมของตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งความคิดเห็นนี้ยังได้รับการยอมรับน้อยลงจากสมาชิกคณะกรรมการ FOMC ด้วยเช่นกัน จึงส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯให้ปรับลดลง

ล่าสุด ตัวเลขการยื่นขอรับสิทธิ์ว่างงานเบื้องต้นและตัวเลขการยื่นขอรับสิทธิ์ว่างงานต่อเนื่องรายสัปดาห์ของสหรัฐฯอยู่ที่ 1.774M และ 208K ตามลำดับในสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคการเกษตรไตรมาส 1 มีตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 0.3% QoQ เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.8% และการรายงานก่อนหน้าที่ 3.5% ในขณะเดียวกัน ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหนึ่งปีโดยมีตัวเลขการเติบโตอยู่ที่ 4.7% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.2% และการรายงานก่อนหน้าที่ 0.0% เช่นเดียวกันกับตัวเลขคำสั่งซื้อโรงงานของสหรัฐฯประจำเดือนมีนาคมที่เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสี่เดือนด้วยตัวเลขการเติบโตที่ 1.6% เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ 1.2%

เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯที่ไม่น่าประทับใจนัก ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังมีท่าทีลังเลที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม แม้ว่าจะมีการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วงปลายปี 2024 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สอง ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ นับตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม

อีกทางด้านหนึ่ง ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ร่วมกับตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมนีและยูโรโซนที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ยังช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ยังคงได้รับแรงกดดัน

นอกจากนั้น สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) Yannis Stournaras ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ECB น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 3 ครั้ง แทนที่จะเป็น 4 ครั้งในปีนี้ โดยอ้างอิงจากตัวเลขเซอไพรส์เชิงบวกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของยูโรโซนล่าสุดที่ออกมาดีเกินคาด ในทางกลับกัน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางฯ Philip Lane ระบุว่า ECB ยังไม่ได้กำหนดแนวทางการปรับอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน โดยยังคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจเป็นหลัก

สำหรับคู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แม้จะขาดโมเมนตัมขาขึ้นในช่วงหลัง เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ก่อนที่จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯออกมา ประเด็นที่น่าสนใจ คือ องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (UK) ในปี 2024 จาก 0.7% เหลือ 0.4% โดยปัจจัยนี้ยังได้ท้าทายแรงเทซื้อคู่เงินเคเบิลอีกด้วย

ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDJPY ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ โดยปรับลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่ทางการญี่ปุ่นพยายามแทรกแซงตลาดเพื่อดึงค่าเงินเยนขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ที่อ่อนค่าลง รายงานจากสำนักข่าว Reuters เมื่อวันพฤหัสบดีชี้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อาจใช้เงินประมาณ 3.26 - 3.66 ล้านล้านเยนในการเข้าแทรกแซงตลาด

ในอีกทางหนึ่ง ความคิดเห็นที่มีแนวโน้มสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจาก Tiff Macklem ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ร่วมกับข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสวิสที่มีทิศทางดีขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน USDCAD และคู่เงิน USDCHF อีกด้วย

ทั้งนี้ ความกังวลใหม่ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มดังกล่าว เมื่อร่วมกับการที่ดอลลาร์สหรัฐฯอาจชะลอการอ่อนค่าลงก็อาจจะทำให้แรงเทขายทองคำมีความหวัง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนชื่อดังอย่าง Bill Ackman และ Bill Gross คาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 5% ภายใน 12 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ รายงานล่าสุดจากสภาทองคำโลก (WGC) เผยให้เห็นถึงความต้องการทองคำทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้น +3% ในไตรมาสแรกของปี 2024 โดยมีปริมาณความต้องการอยู่ที่ 1,238 ตัน ซึ่งถือเป็นการเติบโตในไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 รายงานเดียวกันนี้ยังระบุว่า จีนเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนความต้องการทองคำทั่วโลก สังเกตได้จาก ธนาคารประชาชนจีน (PBoC) เข้าซื้อทองคำจำนวน 27 ตัน ในช่วงไตรมาสแรกของปีส่งผลให้ปริมาณทองคำสำรองของจีนเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดที่ 2,262 ตัน

ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ สาเหตุหลักอาจสืบเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับ การที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโอเปกและพันธมิตร (OPEC+) อาจมีการขยายเวลาการลดกำลังการผลิตต่อไป โดยปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมอาจเป็น ตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.1% (เดิม 2.9%) สำหรับปี 2024 และ 3.2% (เดิม 3.0%) สำหรับปี 2025 อย่างไรก็ตามน่าสังเกตว่าความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลงในตะวันออกกลางยังได้ท้าทายแรงเทซื้อพลังงานในช่วงหลังอีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

จับตาดูรายงาน NFP และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ….

นักลงทุนกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา (NFP) และอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง (Average Hourly Earnings) รวมไปถึงดัชนีราคาชำระเงินภาคบริการ (ISM Services Price Paid) เพื่อดูแนวโน้มการเคลื่อนไหวของตลาด หากสภาพการจ้างงานของสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นและแรงกดดันด้านราคาเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวจากการอ่อนค่าลงล่าสุดได้ อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลเศรษฐกิจมีทิศทางเชิงลบ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็อาจจะปรับลดลงอย่างหนักและยืนยันรูปแบบการกลับตัวของกราฟขาขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคำทำสถิติใหม่ที่ระดับเกิน $2,400

ตามการคาดการณ์ล่าสุด ตัวเลขข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 243K ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น 303K ขณะที่ อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง (Average Hourly Earnings) คาดการณ์ว่าอาจจะอยู่ที่ประมาณ 4.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่ 4.1% แต่ยังคงที่ 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Services PMI) ดูเหมือนว่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 52.0 จากเดิมที่ 51.4 ขณะที่ ดัชนีราคาชำระเงินภาคบริการ (ISM Services Prices Paid) คาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 53.4 ซึ่งใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!