สถานการณ์ของตลาดเป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้นแต่นักลงทุนยังคงมีท่าทีระมัดระวังขณะที่มีการเผยแพร่รายงานตัวเลขค่าดัชนี PMIs ในเดือนสิงหาคมท่ามกลางความหวังที่จะได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ทั้งนี้รายงานตัวเลขค่าดัชนี PMIs ของออสเตรเลียที่ปรับลดลงในช่วงต้นวันและรายงานยอดค้าปลีกของนิวซีแลนด์ที่ตกต่ำเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ RBA และ RBNZ ในขณะที่ข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ BoJ สามารถรักษานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างยิ่งเอาไว้ได้
โดยปัจจัยที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ดีขึ้นเล็กน้อยนี้อาจเป็นความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมถึงการปฏิเสธข้อกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางหลายท่าน
ด้วยเหตุนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในรอบ 2.5 เดือน และส่งผลกระทบกับสินค้าโภคภัณฑ์รวมไปถึงค่าเงิน AUD,NZD ในขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังก็ร่วงลงเช่นกันหลังจากปรับตัวขึ้นสู่ราคาสูงสุดในรอบหลายปีเมื่อวันก่อนหน้า
ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง ส่วนทางด้านราคาน้ำมันเบรนท์ร่วงลงขณะที่คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ที่ถือเป็นตัววัดความเสี่ยงในตลาด (risk-barometer) กำลังปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้คู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน USDCHF ยังพุ่งสูงขึ้นสูงสุดจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ท่ามกลางข้อกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ BOE และ SNB และเป็นที่น่าสังเกตว่ารายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI ของเยอรมนีที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ดีขึ้น
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่มีข้อมูลในบล็อกเชนที่แสดงถึงทิศทางที่ดีและความหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการอนุมัติ ETF แม้ว่า การประสบปัญหาของ ก.ล.ต. ของสหรัฐฯและความวิตกกังวลก่อนการรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI ในตลาดจะทดสอบแรงเทซื้อคริปโต
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกครั้งล่าสุดในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนหรือข้อมูลเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและความลังเลของธนาคารกลางในการสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมามีทิศทางบวกอีกครั้งหลังจากได้เห็นสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเป็นเวลากว่าสองสามสัปดาห์
โดยรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMIs ที่แข็งแกร่งขึ้นจากเยอรมนีและญี่ปุ่นอาจเป็นสัญญาณที่สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ ECB และ BoJ ซึ่งจะสามารถกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดได้ก่อนที่จะถึงการรายงานข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูโรโซนและสหรัฐฯ
ทั้งนี้ความหวังที่กำลังเพิ่มขึ้นในการเห็นการปรับแปลงนโยบายการเงินของ Fed ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ย (interest rate futures) ครั้งล่าสุด ยังสนับสนุนแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อยของตลาดอีกด้วย
ถึงกระนั้น ประธาน Fed ;Powell ก็มักจะไม่เลือกการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายดังนั้นความวิตกกังวลก่อนงานประชุม Jackson Hole จึงยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาด
ไม่ว่าจะเป็นการรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMIs ของสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และสหราชอาณาจักรในเดือนสิงหาคมหรือยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯรวมไปถึงยอดค้าปลีกของแคนาดา ทุกสิ่งสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้นักลงทุนในตลาดได้ตลอดทั้งวัน และอาจจะนำไปสู่สถานการณ์ที่มีความผันผวนได้ หลังจากนั้น คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯจะเป็นการรายงานสุดท้ายก่อนที่การประชุม Jackson Hole จะสั่นสะเทือนตลาดต่อไป
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !