ความเชื่อมั่นของตลาดปรับตัวดีขึ้นในช่วงเช้าของวันพุธนี้ เนื่องจากนักลงทุนต่างเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางรายใหญ่หลายแห่งจะถึงจุดสูงสุดเร็วๆนี้ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ตกต่ำลงรวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจในจีนและเยอรมนี โดยความหวังที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีเสถียรภาพนั้นสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาดได้ไม่น้อย
ในขณะที่ความเชื่อมั่นในเชิงบวกเล็กน้อยส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การที่ RBNZ หยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ส่งผลให้คู่เงิน NZDUSD ยังคงแข็งค่าขึ้น ขณะที่คู่เงิน AUDUSD ได้รับแรงหนุนจากความคิดเห็นเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่ดุเดือดจากผู้ว่าการ RBA ; Philip Lowe โดยไม่สนใจคำเตือนจาก Chalmer รัฐมนตรีกระทรวงการคลังออสเตรเลีย
โดยคู่เงิน USDJPY ขึ้นเป็นผู้นำกลุ่ม G10 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตัวเลขค่าดัชนี PPI ของญี่ปุ่นที่อ่อนค่าลงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายเงินที่ผ่อนคลายของ BoJ
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวขึ้นหลังจากพุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ แต่ราคาทองคำยังคงแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ หุ้นในโซนเอเชีย-แปซิฟิกมีความผันผวน โดยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยแม้ว่าฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯจะเป็นไปตามการปิดบวกเล็กน้อยของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทก็ตาม
ส่วนทางฝั่งของคริปโตยังเป็นบวกเล็กน้อยเนื่องจากการระดมทุนของสถาบันปกป้องช่วงขาขึ้นของตลาดได้ แม้ว่าความกลัวด้านกฎระเบียบจะทดสอบความเชื่อมั่นก็ตาม
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
นักลงทุนต่างมีท่าทีระมัดระวัง เนื่องจากตลาดกำลังรอข้อมูลตัวเลขค่าดัชนี CPI ที่สำคัญของสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวังว่าจะได้เห็นการหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เร็วๆนี้ ตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยปัจจัยที่เพิ่มให้ความเชื่อมั่นไปในเชิงบวกเล็กน้อยอาจเป็นการเพิกเฉยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) รวมถึงการยืนกรานการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของ BoJ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มีแนวโน้มพลิกผันไปในเชิงบวกและการไม่มีหายนะครั้งใหญ่ในแนวรบรัสเซีย-ยูเครนก็สนับสนุนความเชื่อมั่นเช่นกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่าความคิดเห็นเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวของผู้ว่าการ RBA ; Philip Lowe เป็นผลให้คู่เงิน AUDUSD มั่นคงยิ่งขึ้น แม้ว่ารัฐมนตรีกระทรวงการคลังออสเตรเลียจะเตือนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรงก็ตาม
อีกทางด้านหนึ่ง สถิติที่ตกต่ำจากประเทศเศรษฐกิจสำคัญๆผนวกกับความกลัวที่กำลังจะเกิดขึ้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจีนและบางส่วนของยุโรปที่ทำให้เหล่านักลงทุนจำเป็นต้องตั้งสติ
ในทางกลับกัน นักลงทุนคริปโตยังคงหวังว่าจะได้เห็นกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากผู้เล่นรายใหญ่ตามแนวโน้มล่าสุด เช่นเดียวกับการสังเกตรูปแบบการขุด Bitcoin ที่เป็นไปในเชิงบวก นอกจากนี้ การสมัคร ETF จากสถาบันที่มีชื่อเสียงยังสนับสนุนความเชื่อมั่นได้เล็กน้อย
เมื่อมองไปข้างหน้า นักลงทุนต่างสนใจรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวเลขค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และตัวเลขค่าดัชนี Core CPI เพื่อดูทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองคือการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และข้อมูลเศรษฐกิจบางส่วนจากยุโรป
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่อ่อนตัวลงจะเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวาง แต่ตัวเลขนี้สามารถยืนยันความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ดุดันจาก Fed ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปล่อยให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯค่อยๆฟื้นตัวได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนก่อนหน้านี้
ในทางกลับกัน BoC มีแนวโน้มที่จะประกาศเพิ่มอัตรามาตรฐาน 0.25% และอาจช่วยให้ค่าเงิน CAD พุ่งสูงขึ้นอีก แม้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงล่าสุดและการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯหลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จะสามารถกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาลงให้คู่เงิน USDCAD ได้ แต่ในกรณีที่ BoC สร้างเซอไพรส์ให้กับตลาดด้วยการรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมอาจเห็นการดีดตัวที่รอคอยมานานของคู่เงิน USDCAD
ในอีกทางหนึ่ง สกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงก็อาจจะแข็งค่าขึ้น เว้นแต่ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะสามารถสร้างเซอไพรส์ในเชิงบวกเป็นอย่างมาก
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !