เนื่องจากอาชีพเทรดเดอร์นับเป็นงานที่มีรายได้ดีที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ ทำให้นักเทรดบางคนลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเทรด forex เต็มเวลาแบบเต็มตัว แต่ก็ไม่เทรดเดอร์จำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถเทรด forex แบบ full time ได้ พวกเขาจึงมองหาช่วงเวลา part time หรือเวลาว่าง เพื่อเปิดและปิด position เทรดต่างๆ ในช่วงเวลาพักกลางวัน หรือ ก่อนนอน แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า การเทรดโดยอาศัยช่วงเวลาว่างนั้นอาจทำให้ท่านเสียโอกาสดีๆ ในการซื้อหรือขายทำกำไร โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น บทความนี้จะช่วยแนะนำกลยุทธ์การเทรด part time ให้กับเทรดเดอร์เวลาน้อยทุกท่าน เพื่อช่วยให้ท่านสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดจากการเทรด และคว้าจังหวะการเทรดดีๆ เอาไว้ให้อยู่มือ!
แม้ท่านจะไม่สามารถเทรดแบบ full time ได้ ก็อย่ากังวลใจไปเลยครับ ท่านเพียงแค่ต้องเลือกใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันไปตามความเหมาะสมของตารางการเทรดแบบ part time ของท่าน ตามที่ท่านถนัด แต่ต้องไม่ลืมว่าวิธีการเทรดเหล่านั้นอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น นักเทรดกลางคืน อาจต้องต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการเทรดตราสารบางอย่าง (ไม่ว่าจะคู่เงิน หรือ ดัชนี ที่ไม่ได้มีให้เทรดตลอดเวลา)
ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อใช้เทรดตราสารที่มีให้เทรดทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอาจต้องใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างคู่เงินแต่ละคู่ให้ดี เพื่อให้กลยุทธ์การเทรด part time ของท่านประสบความสำเร็จ และหมั่นเรียนรู้กลยุทธ์ forex ที่ใช้ได้ผลจริง อยู่เสมอ
กลยุทธ์ระยะสั้น แม้จะมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย แต่ต้องยอมรับเลยว่ากำไรที่ได้นั้นคุ้มค่าจริงๆ กลยุทธ์นี้จะอาศัยการเทรดแบบสั้นๆ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที โดยในขั้นตอนแรก ท่านจะต้องจับจังหวะแนวโน้มระยะสั้น (Short term trend) ที่เหมาะสมให้ได้เสียก่อน และที่สำคัญ อย่าลืมหาวิธีบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเทรดขาดทุนด้วยล่ะ!
และนี่คือหลักการเบื้องต้น ที่อาจช่วยท่านให้เทรดได้สำเร็จ ได้แก่:
ข้อดี:
ข้อเสีย:
รู้หรือไม่? ท่านสามารถทดสอบกลยุทธ์เทรดต่างๆ ได้โดยง่าย แถมยังทดลองเทรดได้ในสภาวะตลาดจริง ด้วย บัญชีเดโม่ พร้อมเงิน $5000 ฟรี! ทดสอบความสามารถในการตัดสินใจระหว่างการเทรดของท่าน โดยไม่ต้องเสี่ยงเสียเงินจริงแม้แต่บาทเดียว! เรียนรู้การทำงานของตลาด ก่อนทำกำไรจริง ผ่าน บัญชีจริง !
และที่สำคัญ หากท่านสงสัยว่า จะเริ่มเทรดในบัญชีเดโม่ได้อย่างไร? ท่านสามารถสอบถามฝ่ายบริการลูกค้าของเราได้ผ่าน ไลฟ์แชท บนหน้าเว็บไซต์ MTrading แล้วผู้ให้บริการของเราจะรีบติดต่อกลับ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยให้กับท่านในทันที!
กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดหุ้นใน timeframe ระยะกลาง หากจะพูดให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ เทรดเดอร์ที่ต้องการถือ position หนึ่งๆ เป็นเวลาตั้งแต่หลายวัน ไปจนถึง หลายสัปดาห์ แตกต่างกันไปตามความเคลื่อนไหวของเทรนด์ ทำให้หลักการนี้จะต้องอาศัยการวิเคราะห์ที่มากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับกลยุทธ์เทรดระยะสั้นนั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านไม่เพียงแค่ต้องศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับทิศทางของเทรนด์ในอดีต แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาจังหวะในการออกออเดอร์ที่ดีที่สุด จะเห็นได้ว่าหลักการนี้จะใช้เวลามากขึ้นมาหน่อย เนื่องจากเทรดเดอร์จะต้องศึกษาและบันทึกข้อมูล จับตาดูความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสินทรัพย์นั้นๆ ทั้งยังต้องเฝ้าติดตามเหตุการณ์หรือประกาศสำคัญทางเศรษฐกิจ หรือการเมืองต่างๆ อีกด้วย
โดยท่านจะต้อง:
ข้อดี:
ข้อเสีย:
แค่ชื่อก็ชัดเจนมากเพียงพอแล้วครับว่า กลยุทธ์นี้อาศัยการถือ position เป็นระยะเวลานานๆ ตั้งแต่หลายเดือน ไปจนถึง หลายปี ในขณะที่สินทรัพย์นั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หรือราคาแทบไม่ขยับไปไหนเลย โดยหลักการสำคัญก็คือ การเข้าเทรดแบบไม่บ่อย แต่รอทำกำไรทีเดียวตอนที่ราคาเพิ่มไปถึง 200 pip ขึ้นไป แม้อาจจะใช้เวลานานหน่อยก็ตาม แต่หลักการนี้ก็มาพร้อมกับข้อจำกัดเกี่ยวกับโอกาสในการเทรดที่ลดน้อยลง และยิ่งไปกว่านั้น ท่านจะต้องเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่างๆ มาเป็นอย่างดี และอาศัยพื้นฐานทางการเงิน การวิเคราะห์ และทักษะการเทรด หากท่านต้องการใช้กลยุทธ์ระยะยาวนี้
คุณลักษณะสำคัญของกลยุทธ์เทรดระยะยาว ได้แก่
ข้อดี:
ข้อเสีย:
การเลือกกลยุทธ์เทรดที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านควรทำก่อนก้าวเข้าสู่ตลาด ท่านจะต้องทำความเข้าใจอย่างละเอียดว่าหลักการใดที่เหมาะสมกับท่าน และอย่าลืมเพิ่มพูนความรู้, ทักษะ, และเทคนิคการเทรดของท่าน ก่อนที่ท่านจะเริ่มเทรดแบบ part time ทบทวนเกี่ยวกับกลยุทธ์เทรดในระยะต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อให้ท่านตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับท่านได้ในที่สุด (ขอแอบกระซิบว่าเรายังมีบทเรียนการเทรดดีๆ เพิ่มเติม ที่นี่)
สุดท้าย เราขอให้ทุกท่านโชคดีกับการเทรด และยินดีต้อนรับเทรดเดอร์ทุกท่านที่พร้อมจะเทรดร่วมทางไปกับเรา!
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน