ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ความผันผวน (Volatility) ต่างจากความเสี่ยง (Risk) อย่างไร?

ความผันผวน (Volatility) เป็นเครื่องมือในการวัดผลตอบแทนหรือความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในกรอบเวลาต่างๆ ในขณะเดียวกัน ความผันผวนของตลาดก็อาจมาพร้อมความเสี่ยงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากทำกำไรตามกรอบความเคลื่อนไหวของหุ้นที่วิ่งแตะระดับสูงสุดหรือต่ำสุด หรืออาศัยความผันผวนของตลาดนั่นเอง

None

ความผันผวนถือเป็นเรื่องทั่วไปสำหรับตลาดหุ้นและพันธบัตร อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่มากเกินไปก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน ทำให้เทรดเดอร์มืออาชีพส่วนใหญ่มักพิจารณาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจเทรดและการกระจายพอร์ตการลงทุนตามความเหมาะสม

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายข้อแตกต่างระหว่างความผันผวนของตลาดหุ้นและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเทรดหุ้น เมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงโดยที่นักเทรดไม่สามารถเคาเดาได้

ความผันผวน (Volatility) คืออะไร?

นักลงทุนจะใช้ความผันผวนของตลาดเพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ นักลงทุนจะต้องตระหนักถึงความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน เนื่องจากจะเป็นตัวบอกระดับความเสี่ยงที่ท่านกำลังจะเผชิญ

การศึกษาความผันผวนในตลาดก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญในการเทรดหุ้น แต่ความผันผวนไม่มีผลมากต่อการลงทุนในระยะยาว เพราะจะใช้สำหรับการเทรดในระยะสั้นๆ มากกว่า ดังนั้น นักเทรดที่ตั้งใจจะปั้นพอร์ตยาวๆ ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับความผันผวนมากนัก

อย่างไรก็ตาม ท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้ เนื่องจากความผันผวนมักเกิดขึ้นในตลาดเสมอ สิ่งเดียวที่ท่านสามารถทำได้คือหลีกเลี่ยงการซื้อตราสารที่มีความผันผวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับตราสารอื่นๆ ในตลาด

ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร?

ตามคำจำกัดความที่กำหนดโดย ก.ล.ต. ความเสี่ยงหมายถึงระดับความไม่แน่นอนในตลาดการเงิน พูดง่ายๆ ก็คือ นักลงทุนไม่รู้ว่าการตัดสินใจทางการเงินครั้งต่อไปจะมีผลกระทบอย่างไร ในเชิงของหุ้น หมายความว่าเทรดเดอร์มีแนวโน้มที่จะซื้อสินทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่มีชื่อเสียง มากกว่าที่จะเป็นสตาร์ทอัพที่มีความเสี่ยงมากกว่า

ในขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าโอกาสที่สินทรัพย์จะสูญเสียมูลค่าก็มีมากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น พันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ มีความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำกว่า ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าแม้จะมองในระยะยาว

สรุปแล้ว จะมองว่าเป็นความผันผวนหรือความเสี่ยงนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเทรดและสไตล์การเทรดของท่าน ท่านจะต้องตัดสินใจว่าจะรับความเสี่ยงโดยคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นหรือรักษาความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำๆ แต่สร้างผลตอบแทนที่น้อยแต่มั่นคง

ความผันผวน vs. ความเสี่ยงในตลาดหุ้น: ข้อแตกต่างที่ชัดเจน

ความผันผวนและความเสี่ยงเป็นสองปัจจัยหลักที่นักเทรดควรให้ความสนใจทุกครั้งที่ตัดสินใจลงทุน เพื่อใช้ตัวชี้วัดตลาดและช่วยให้นักลงทุนกำหนดระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

“Beta” วิธีการเปรียบเทียบความผันผวนในตลาดหุ้น

นักเทรดที่มีประสบการณ์อาจใช้วิธีการ "Beta" มาช่วยในการวัดระดับความผันผวนของหุ้น โดยมีเงื่อนไขหลัก 3 ข้อ ดังนี้:

  1. หากใช้ค่า Beta เท่ากับ 1.0 เป็นตัวชี้วัดพื้นฐาน หมายความว่าความผันผวนของหุ้นนั้นใกล้เคียงกับตลาด (ทั้งในแง่ของการลดลงและเพิ่มขึ้นก็ได้)
  2. หาก Beta ต่ำกว่า 1.0 หมายความว่าตลาดมีความผันผวนมากกว่าสินทรัพย์
  3. หาก Beta สูงกว่า 1.0 หมายความว่าสินทรัพย์มีความผันผวนมากกว่าตลาด

หากสินทรัพย์มีความผันผวนมากกว่าตลาด (Beta สูง) หมายความว่าความเสี่ยงในการลงทุนนั้นสูงขึ้นแต่หากหุ้นมี Beta ต่ำกว่าตลาดก็จะมีเสถียรภาพมากกว่าและปราศจากความเสี่ยงแม้ว่าจะมีผลตอบแทนต่ำกว่าก็ตาม

วิธีสังเกตความเสี่ยงในตลาด

ความผันผวนไม่ควรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ท่านตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นต่างๆ โดยนักลงทุนควรใช้การตัดสินใจอย่างมีการศึกษาและรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมด้วย

หากต้องการปรับสมดุลความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอของท่าน ท่านจะต้องพิจารณาหุ้นที่มีกรอบเวลาที่ยาวกว่า สำหรับการลงทุนในระยะยาว เช่น หากท่านวางแผนที่จะขายใน 10 ปีหลังหรือใช้เป็นแผนเกษียณอายุของท่าน แต่หากต้องการผลตอบแทนรวดเร็ว เช่น ในปีหน้า การรอให้ตลาดฟื้นตัวหลังเผชิญวิกฤตอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก

บทสรุปเกี่ยวกับความผันผวนและความเสี่ยง

จะมองว่าเป็นความเสี่ยงหรือความผันผวนก็แล้วแต่รูปแบบการเทรดของนักเทรด และขึ้นอยู่กับอัตราความเสี่ยงที่ท่านสามารถยอมรับได้ ยิ่งมีสินทรัพย์ที่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ (พอร์ตการลงทุนของท่านก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น) ท่านก็จะต้องรับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน