ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

Market Structure คืออะไร? อธิบายประเภทโครงสร้างตลาดแบบละเอียด!

การทำความเข้าโครงสร้างของตลาดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนและนักเทรดที่อาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคเป็นหลัก ซึ่งสำหรับนักเทรดมือใหม่ โครงสร้างตลาดอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเล็กน้อยเนื่องจากมีมือใหม่หลายรายที่เข้าใจผิดคิดว่าโครงสร้างตลาดก็คือพฤติกรรมราคา (Price action) ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ โครงสร้างตลาดถึงแม้จะมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมราคา แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างตลาด รวมถึงประเภทของโครงสร้างตลาดทั้งหมด เพื่อไขข้อสงสัยว่ามันแตกต่างจากพฤติกรรมราคาอย่างไร

Market Structure คืออะไร?

Market structure หรือ Market state หมายถึง โครงสร้างตลาด ซึ่งเป็นตัวอธิบายการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของพฤติกรรมราคาในกรอบเวลาต่างๆ อย่างที่ท่านทราบกันดีว่าราคามักขึ้นๆ ลงๆ ตามความผันผวน โดยความผันผวนเหล่านั้นสามารถนำมาตีความได้เป็นรูปแบบหรือโครงสร้างของตลาดซึ่งใช้บอกภาพรวมของกราฟราคาในกรอบเวลารายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน หรือแม้กระทั่งรายปี

สิ่งที่นักลงทุนและนักเทรดเชิงเทคนิคต้องทำ คือ การติดตาม การวิเคราะห์ตลาด และใช้งาน อินดิเคเตอร์ช่วยวิเคราะห์กราฟ ที่หลากหลาย เพื่อพิจารณาภาพรวมของตลาดและระบุประเภทโครงสร้างของตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

  1. ตลาดทะลุกรอบ (Rotational Market) คือ จังหวะที่ราคาเคลื่อนที่แกว่งตัวในกรอบแคบๆ และกำลังจะพุ่งหรือดิ่งทะลุกรอบซึ่งเป็นจังหวะสำคัญในการเทรดทำกำไร
  2. ตลาดมีเทรนด์ (Trending Market) รูปแบบตลาดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อราคาอยู่ในขาขึ้นและขาลง ซึ่งนักเทรดจะพิจารณาได้จากสภาวะซื้อเกินมากเกินไป (Overbought) และขายมากเกินไป (Oversold) เพื่อใช้กลยุทธ์และรูปแบบการซื้อขายตามเทรนด์ที่ช่วยสร้างผลกำไรได้ นอกจากนั้น การอาศัยเป้า Fibonacci ก็เป็นหนึ่งในวิธีการซื้อขายที่ใช้มากที่สุดสำหรับตลาดที่มีแนวโน้ม
  3. ตลาดกลับตัว (Reversal Market) เป็นจังหวะตลาดที่ราคาจะมีการกลับตัว ซึ่งเป็นสภาวะตลาดที่เหมาะสำหรับนักเทรดที่เน้นเทรดแบบโมเมนตัม โดยใช้รูปแพทเทิร์นกราฟและโมเมนตัม Oscillator ที่ช่วยบ่งบอกจังหวะการกลับตัวของราคา
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ด้วยเหตุน้ีเอง ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่เลือกใช้เครื่องมือเทรดและอินดิเคเตอร์หลายชนิดเพื่อจับรูปแบบของตลาดและเลือกใช้กลยุทธ์เทรดที่เหมาะสม ก่อนอื่นต้องเข้าใจสภาวะของตลาดโดยรวมให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยเปิดคำสั่งซื้อขายในตลาด

พฤติกรรมราคาเกี่ยวข้องกับโครงสร้างตลาดอย่างไร?

จะสังเกตได้ว่ารูปแบบโครงสร้างตลาดนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของราคา พูดง่ายๆ ก็คือ การเคลื่อนไหวของราคาเป็นพื้นฐานหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อโครงสร้างตลาด เนื่องจากมันจะบ่งบอกผันผวนของผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ภายในกรอบเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

นอกจากจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโครงสร้างตลาดแล้ว พฤติกรรมราคายังมาพร้อมกับพื้นฐานในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถพิจารณาได้ว่าราคามีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต และจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต

วิธีที่ดีที่สุดและเชื่อถือได้มากที่สุดในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาและพฤติกรรมราคา คือ การวางแผนติดตามกราฟราคา แพทเทิร์นกราฟต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค โดยท่านอาจเคยเห็นรูปแบบแท่งเทียนบางประเภทที่นิยมเทรดกันอย่างมากแล้ว รวมถึงแพทเทิร์นแท่งเทียนแบบญี่ปุ่น และแพทเทิร์นอื่นๆ อีกมากมาย โดยแท่งเทียนเหล่านั้นจะช่วยให้นักเทรดทราบได้ว่าการเคลื่อนไหวของราคาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โดยเราแบ่งพฤติกรรมราคาออกได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่:

  1. รูปแบบขาลง (Bearish) – บอกจังหวะที่ราคาเป็นขาลงเนื่องจากมีแรงเทขายจำนวนมาก
  2. รูปแบบขาขึ้น (Bullish) – บอกจังหวะที่ราคาเป็นขาขึ้นเนื่องจากมีแรงซื้อจำนวนมาก
  3. รูปแบบทั่วไป (Neutral) – คือจังหวะที่ราคาเคลื่อนที่นิ่งๆ หรือแกว่งตัวเป็นเส้นตรง ซึ่งบ่งบอกว่าตลาดมีแรงซื้อและแรงขายเท่าๆ กัน

บทสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างตลาด

สิ่งที่เทรดเดอร์จะต้องพึงระลึกไว้เสมอ คือ การเคลื่อนไหวของราคานั้นได้รับอิทธิพลจากการไหลของผลิตภัณฑ์ (Product flow) ทำให้ราคามีการดีดขึ้นหรือร่วงลงเกินกว่าระดับอุปสงค์และอุปทาน หรืออาจเคลื่อนไหวแบบนิ่งๆ ในบางครั้ง แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การเคลื่อนไหวของราคาคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อโครงสร้างตลาด ซึ่งส่งผลให้ราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ นั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน