ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ! ก็เทรดหุ้นได้ กับ MTrading

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ของ MTrading ทุกท่านนะครับ! ท่านมาได้ถูกจังหวะแล้วล่ะ เพราะบทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อเอาใจนักเทรดมือใหม่โดยเฉพาะ เนื่องจากเราเข้าใจดีว่า หากจะพูดถึงวิธีการเทรดทั่วๆ ไป ก็อาจจะยากและซับซ้อนเกินกว่าที่มือใหม่จะรับไหว ดังนั้น บทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนง่ายๆ ที่ทำตามได้ไม่ยาก แต่รับรองได้เลยว่าจะทำให้ท่านเทรดหุ้นได้อย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น มาร่วมกันคลายข้อสงสัยว่า 'การเทรดหุ้น' คืออะไรกันแน่? วิธีการเทรดหุ้นทำอย่างไร? และจริงๆ แล้ว 'นักเทรดหุ้น' ต่างจาก 'นักลงทุน' อย่างไร? ติดตามและหาคำตอบไปพร้อมกัน!

None

มือใหม่หัดเทรดอาจจะเคยได้ยินเหล่านักเทรดที่นั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ตะโกนคำว่า "Buy (ซื้อ)" หรือ "Sell (ขาย)" ในภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับ Wall Street (ถนนวอลล์สตรีทที่ตั้งของอาคารตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์ก) มาหลายเรื่อง แต่รู้หรือไม่ว่า ภาพยนตร์เหล่านั้นอาจไม่ได้พูดถึงการเทรดหุ้นเสมอไป?

เพราะอะไรน่ะหรือ? นั่นก็เพราะว่า ไม่ใช่ทุกคนที่วุ่นวายกับเรื่องซื้อ-ขายหุ้น จะเป็นเทรดเดอร์ทั้งหมดเสียหน่อย เนื่องจากผู้เล่นในตลาดหุ้นนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ นักเทรด และ นักลงทุน ซึ่งแตกต่างกันอย่างไรนั้น โปรดติดตามอ่านต่อไปครับ!

หุ้น (Stock) คืออะไร?

แต่ก่อนที่เราจะลงลึกไปถึงรายละเอียด, คำศัพท์ หรือคำอธิบายเหล่านั้น มาทำศึกษาความหมายของหุ้น (stock) ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อทำความเข้าใจว่าหุ้นมีพฤติกรรมในตลาดอย่างไร แล้วหุ้นมีข้อดีอย่างไร

เอาล่ะ หุ้นนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กระดาษใบหนึ่งที่บริษัทรับรองให้ผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่มันหมายถึงการลงทุนจริงๆ ในธุรกิจนั้นๆ เลยล่ะครับ โดยเมื่อท่านซื้อหุ้นแล้ว ท่านก็ได้รับส่วนแบ่งในรายได้ของบริษัทดังกล่าวด้วยเช่นกัน หรือจะให้พูดเข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า ท่านเป็นหุ้นส่วนในทรัพย์สินของบริษัทเหล่านั้นด้วยนั่นเองครับ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายมักพิจารณาหุ้นต่างๆ ไปพร้อมๆ กับเงินทุนของบริษัท รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น

องค์ประกอบหลักของหุ้น คือ 'ราคา' ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อทั้งนักลงทุนและนักเทรด เพราะยิ่งบริษัทมีกิจการที่ได้สวยมากเท่าไหร่ ราคาหุ้นก็จะยิ่งพุ่งสูงตามไปแบบติดๆ

ยกตัวอย่าง: สมมุติว่า Apple กำลังจะเริ่มผลิตสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เหล่าสาวกต่างตั้งหน้าต่างตารอคอยกันมานาน แน่นอนว่ามันกำลังจะกลายเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุด ยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะเป็นตัวผลักดันให้ราคาหุ้น Apple เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งผู้ที่ถือหุ้น Apple ไว้ก็เตรียมรอรับกำไรได้เลยครับ

นักเทรดหุ้น VS นักลงทุน

หากท่านพิจารณาจากตัวอย่างด้านบน จะสามารถแบ่งพฤติกรรมของผู้ถือหุ้น ออกได้เป็น 2 แบบ คือ:

  1. เก็บสะสมหุ้นไว้ เพื่อรอรับค่าคอมมิชชั่นรายเดือนหรือรายปี ที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น
  2. ขายหุ้น เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาขายและราคาทุน

หากท่านเลือกตัวเลือกแรก นั่นอาจหมายความว่าท่านเป็น 'นักลงทุน' แต่ถ้าหากตัวเลือกที่ 2 คือตัวตนของท่าน นั่นหมายความว่า ท่านเป็น 'นักเทรดหุ้น' นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นอาจร่วงลงได้เมื่อบริษัทเกิดการขาดทุน หรือมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อราคาหุ้น เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์, สังคม และสถานการณ์อื่นๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่ากังวลใจมากเกินไปล่ะครับ เพราะท่านยังสามารถเทรดทำกำไรในช่วงวิกฤติได้ เพียงแค่ท่านเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีทำกำไรในตลาดขาลง

หากท่านตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นนักเทรดหุ้นในเร็วๆ นี้ล่ะก็ ท่านจะต้องเข้าใจว่าความเสี่ยงนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ข้อดีของการเทรดหุ้น:

  • ได้ผลตอบแทนดีมากสำหรับทั้งนักเทรดและนักลงทุน
  • เลือกเทรดได้ง่าย จากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นตามการเติบโตของบริษัท

ข้อเสียของการเทรดหุ้น:

  • ราคาหุ้นจะผันแปรตามสมรรถภาพของบริษัท หากบริษัทขาดทุนย่อยยับ ราคาหุ้นก็จะร่วงลงเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ท่านขาดทุนได้ในที่สุด

เอาล่ะครับ เมื่อท่านได้ทราบเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานบ้างแล้ว ได้เวลาลงลึกถึงวิธีการเทรด เพื่อให้ท่านเทรดได้เป็น!

การเทรดหุ้น คืออะไร?

การเทรดหุ้น คือ ขั้นตอนในการซื้อและขายหุ้นนั่นเองครับ โดยหลักการสำคัญก็คือ การลงทุน และทำกำไรจากความผันผวนของราคาในแต่ละวัน ซึ่งโดยส่วนมากการเทรดรายวันนั้น หมายถึง การเทรดระยะสั้น (Short-term trading) นั่นแหละครับ แทนที่จะซื้อหุ้นกับบริษัทชั้นนำ แล้วถือหุ้นนั้นไว้เป็นเวลานานๆ (อาจจะเป็นปีหรือ 10 ปี) นักเทรดรายวัน (Day trader) ก็จะชิงขายเก็บกำไรเข้ากระเป๋าในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า หรือบางทีอาจเป็นชั่วโมงไปจนถึงหลายๆ วันเลยก็ได้

ท่านสามารถเทรดหุ้นได้ 2 วิธีที่ต่างกัน ดังนี้:

  • อย่างแรก คือ วิธีการเคาะกระดาน (หรือ Floor trading) ซึ่งก็คือ การเทรดด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นตรงกันใน wall street โดยมีโบรกเกอร์คอยรับคำสั่งจากท่านว่าจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหน และเมื่อจับคู่คำสั่งจากเทรดเดอร์แต่ละคนได้ ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปต่อรองราคากับเทรดเดอร์ โดยท่านจะได้รับหุ้นส่วนเหล่านั้นก็ต่อเมื่ออีกฝั่งอนุมัติราคาที่ท่านได้ขอไปนั่นเอง
  • อีกวิธีหนึ่ง คือ การเทรดออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าและมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเทรดแบบ floor trading ซึ่งท่านจะต้องเลือกโบรกเกอร์ด้วยตัวเอง โดยมีหลักการสำคัญคือการเข้าถึงตราสารการเทรดต่างๆ ในแพลตฟอร์มชั้นนำที่รองรับการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนมาเคาะแป้นคอมพิวเตอร์แทน โดยที่ท่านไม่ต้องออกจากบ้านหรือที่ทำงานของท่านด้วยซ้ำ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

แน่นอนล่ะครับว่า การเทรดออนไลน์นับเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยเทรดหุ้น หรือไม่เคยอยู่ในตลาดการลงทุนมาก่อน แถมยังสะดวกสบายเนื่องจากท่านสามารถเทรดที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้ สิ่งที่ท่านต้องทำก็เพียงแค่เลือกวิธีการเทรดหุ้นที่เหมาะสมกับท่านที่สุดก็แค่นั้น ง่ายไหมล่ะครับ?

ประเภทของการเทรดหุ้น

None

วิธีที่ท่านใช้ในการเทรดหุ้น จะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การเทรดของท่าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

  • Day trading – ตรงตามชื่อเลยครับ ก็คือ การเทรดรายวันนั่นเอง โดยกลยุทธ์นี้เรียบง่ายมากๆ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ สมมุติว่าท่านกำลังถือมันฝรั่งที่ร้อนระอุอยู่ ก็ต้องรีบวางมันก่อนที่มือของท่านจะบวมพองใช่ไหมล่ะครับ สำหรับการเทรดนั้นก็คือ การเปิดและปิด position ของหุ้นตัวหนึ่งอย่างรวดเร็ว อาจจะในเพียงไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
  • Active trading – กลยุทธ์นี้ต้องขอบอกว่าเป็นสายขยันเลยล่ะ เนื่องจากส่วนมากจะขายหุ้นมากถึง 10 ตัวต่อเดือน โดยหลักการนี้จะอาศัยความไวของตลาด ซึ่งหมายความว่า เทรดเดอร์จะต้องใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและรวดเร็ว มาเป็นตัววิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต โดยมีอินดิเคเตอร์และการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นตัวช่วยสำคัญนั่นเอง

ได้เวลาอันควรแล้ว.. มาเริ่มเทรดกันเลยครับ!

เทรดหุ้นด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆ

ช้าก่อน… ก่อนที่ท่านจะเริ่มเทรด โปรดมั่นใจว่าท่านได้ตั้งเป้าหมายการเทรดที่ดีไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะเป้าหมายเหล่านั้นจะช่วยให้ท่านโฟกัสและยึดมั่นหลักการและแผนการเทรดที่ท่านได้เลือก และเมื่อท่านจะก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นอย่างเต็มตัว ท่านจะต้อง:

ขั้นตอนที่ 1 – เลือกโบรกเกอร์

อย่ามองข้ามขั้นตอนสำคัญนี้ล่ะครับ เพราะนี่อาจเป็นขั้นตอนที่ท้าทายมากๆ สำหรับนักเทรดมือใหม่ เนื่องจากโบรกเกอร์จะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ระหว่างการเทรดของท่าน และทำให้ท่านหลีกเลี่ยงปัญหาเล็กๆ น้อยๆ จากการเทรดได้ และเนื่องจากมีโบรกเกอร์ให้เลือกมากมายไปเสียหมด เทรดเดอร์ควรเลือกโบรกเกอร์ที่น่าไว้วางใจและเหมาะสมกับท่านมากที่สุด โดยจะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้:

  • มีเงื่อนไขการเทรดที่ดี
  • รองรับแพลตฟอร์มเทรดชั้นนำ มีประสิทธิภาพ
  • ปลอดภัย น่าเชื่อถือ
  • มีโบนัสและข้อเสนอพิเศษ
  • มีตราสารเทรด หรือผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้เลือกเทรด

ที่ MTrading ท่านจะได้รับประสบการณ์การเทรดที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด เรารองรับทุกกลยุทธ์การเทรดที่ท่านเลือกใช้ ยิ่งไปกว่านั้น วางใจได้เลยว่าท่านจะได้รับเงื่อนไขการเทรดที่พิเศษที่สุด รวมถึงแพลตฟอร์มที่ทันสมัย และมีตราสารกว่า 20+ ประเภทให้เลือกเทรด รวมถึงหุ้นและ CFD

ขั้นตอนที่ 2 – เปิดบัญชีเดโม่

อย่าเพิ่งตกใจไปล่ะครับ ท่านสามารถเปิด บัญชีเดโม่ ได้ฟรี! เก็บบัตรเครดิตหรือที่อยู่สำหรับส่งใบเสร็จของท่านไว้ได้เลย นอกจากจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แล้ว เรายังมีเงินจำลองให้อีก $5000 เพื่อให้ท่านทดลองเทรดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยต่างๆ ภายใต้สภาวะของตลาดจริงได้ แบบไร้ความเสี่ยง มาฝึกฝนกลยุทธ์ของท่านให้พร้อม เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ก่อนที่ท่านจะลงมือเทรดจริง!

ขั้นตอนที่ 3 – เริ่มเทรดเลย

เมื่อท่านพร้อมสำหรับการเทรดจริงแล้วล่ะก็ เปิด บัญขีจริง แล้วทำกำไรแบบจริงๆ ได้เลยครับ ที่สำคัญ อย่าพลาดข้อเสนอสุดพิเศษ รวมไปถึงโบนัสเงินฝาก ที่เรามอบให้ท่านโดยเฉพาะล่ะ เพิ่มเงินทุน เพิ่มโอกาสในการทำกำไร เริ่มต้นดีก็ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง!

ขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดี! ด้วยความรักจาก MTrading

และถ้าหากท่านสนใจจะเรียนรู้การเทรดเพิ่มเติมล่ะก็ อย่าลืมติตดาม บทความดีๆ จากเรานะครับ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน