ทันทีที่ท่านตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวม นั่นหมายความว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทหนึ่งๆ ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการซื้อหุ้น พันธบัตร หรือหลักทรัพย์อื่นๆ ของบริษัทดังกล่าวแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือหุ้นนั้นโดยตรงก็ตาม แต่การลงทุนกองทุนรวมทำให้นักลงทุนสามารถรับส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัทเท่าๆ กันตามหน่วยการลงทุน จึงเป็นที่มาของชื่อ “กองทุนรวม” หรือ “Mutual fund” โดย “Mutual” หมายถึง การมีส่วนร่วมในการลงทุนดังกล่าวนั่นเองครับ
ในบทความวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปเรียนรู้วิธีการลงทุนซื้อขายกองทุนรวม ทำความรู้จักประเภทกองทุนรวม วิธีสร้างรายได้จากกองทุนรวม รวมถึงข้อดี-ข้อเสียและความเสี่ยงที่นักลงทุนอาจต้องเผชิญในการลงทุนกองทุนรวม ถ้าพร้อมแล้ว… ไปลุยกันเลย!
กองทุนรวม (Mutual fund) คือ การระดมเงินทุนจากนักลงทุนที่ได้รวบรวมกันเพื่อใช้ซื้อหุ้น, พันธบัตร, หลักทรัพย์ หรือตราสารการเงินอื่นๆ โดยมีนักลงทุนมืออาชีพหรือ “ผู้จัดการกองทุน (Fund manager)” เป็นผู้คอยบริหารจัดการเงินลงทุนและเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน แน่นอนว่ากองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการกระจายการลงทุนในพอร์ตของท่าน และยังเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนตราสารการเงินมากนัก
หากแบ่งตามรูปแบบการลงทุนก็อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบนั่นก็คือ กองทุนแบบ Active และกองทุนแบบ Passive แต่จริงๆ แล้วเราสามารถแบ่งประเภทกองทุนรวมออกได้ยิบย่อยกว่านั้น ซึ่งก็คือการแบ่งตามประเภทสินทรัพย์นั่นเองครับ แต่จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย:
ท่านสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับการลงทุนกองทุน หรือสร้างผลตอบแทนจากกองทุนได้ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่:
หากท่านยังคงลังเลว่าจะลงทุนกองทุนรวมดีไหม? หรือจะตัดสินใจลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ดี? ลองมาดูข้อดีและข้อเสียของกองทุนรวมที่จะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ข้อดี:
ข้อเสีย:
กองทุนรวมถือเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ง่ายและสะดวก ไม่ต้องใช้เงินทุนเยอะมากมาย เหมาะสำหรับทั้งนักลงทุนที่มีประสบการณ์น้อยและนักลงทุนมืออาชีพ โดยท่านสามารถบริหารการลงทุนได้ง่าย แถมยังมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ มีรูปแบบการลงทุนให้เลือกหลากหลายตามความต้องการและความถนัดของท่าน อีกทั้งยังสามารถเลือกระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี เราขอแนะนำให้ท่านศึกษาข้อมูลการลงทุนกองทุนให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน