ตลาดการเงินทั่วโลกยังคงเผชิญแรงกดดันในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากที่มาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งสร้างความขัดแย้งอย่างมาก ได้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จุดชนวนความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในระดับโลก มาตรการที่โดดเด่นที่สุดคือ การเก็บภาษีสินค้าจีนในอัตรา 104% ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯกับจีนเกิดขึ้นแม้กระทั่งในนาทีสุดท้าย อีกทั้ง ทำเนียบขาวกลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันในตลาด โดยระบุว่ามีแผนจะเดินหน้าทำข้อตกลงการค้าแบบรายประเทศ โดยใช้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือในการต่อรอง โดยในขณะที่ ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสเตรียมเดินทางไปเจรจาการค้าอย่างเร่งด่วนในกรุงวอชิงตัน จีนกลับไม่แสดงท่าทีว่าจะเจรจาภายใต้แรงกดดันใดๆ
ผลกระทบเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น โดยสถาบันเศรษฐกิจของเยอรมนีปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2025 ในขณะเดียวกัน Fitch ออกมาเตือนว่า แม้มาตรการภาษีอาจสร้างรายได้ทางการคลังในระยะสั้น แต่มีความเสี่ยงที่จะสร้างผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาว แม้จะมีความเคลื่อนไหวจาก การที่ทรัมป์กลับมาสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศบางส่วน และการคาดการณ์ต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed แต่ก็แทบไม่ได้ช่วยพยุงบรรยากาศตลาดแต่อย่างใด
ในบริบทเช่นนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและความไม่แน่นอนด้านนโยบาย ซึ่งเปิดโอกาสให้คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD สามารถทรงตัวจากการปรับตัวสูงขึ้นได้ ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงปรับตัวลง โดยคู่เงิน AUDUSD แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 และคู่เงิน NZDUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี หลังจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทางฝั่งเงินฟรังก์สวิสและทองคำได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่ดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ด้านตลาดหุ้นและคริปโทเคอร์เรนซียังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นก็ยังไม่สามารถต้านทานกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในวงกว้างได้
คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินยูโรยังคงทรงตัวแข็งแกร่ง แม้ว่าสถาบันเศรษฐกิจของเยอรมนีจะปรับลดการคาดการณ์ GDP ปี 2025 และคณะกรรมาธิการยุโรปกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการตอบโต้หรือเจรจาเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยคู่เงิน GBPUSD เคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับยูโร โดยไม่สะทกสะท้านต่อสถานะภาษีที่ไม่เปลี่ยนแปลงของสหราชอาณาจักร ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) รวมไปถึงความคิดเห็นจาก ลอมบาร์เดลลี (Lombardelli) แห่ง BoE ที่ชี้ถึงผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจจากมาตรการภาษีดังกล่าว
ในอีกด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY เคลื่อนไหวเข้าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงกระตุ้นความต้องการเงินเยนญี่ปุ่นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย โดยมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากถ้อยแถลงอย่างระมัดระวังของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คาซึโอะ อุเอดะ (Kazuo Ueda) ที่เน้นถึงความจำเป็นในการประเมินผลกระทบของภาษีในวงกว้างก่อนดำเนินมาตรการใดๆ นอกจากนี้ ความหวังว่าการเจรจาการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯจะประสบความสำเร็จ รวมถึงความคาดหวังเชิงเข้มงวดต่อท่าทีของ BoJ ที่ยังคงอยู่ในตลาด ยังเป็นอีกแรงผลักดันที่กดดันให้คู่เงิน USDJPY ปรับตัวลดลงต่อไป
เบื้องต้น คู่เงิน AUDUSD สะท้อนสถานะของสินทรัพย์ชี้วัดความเสี่ยง (risk barometer) โดยร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์และการค้า อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯทั่วกระดาน และโอกาสที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ ยังช่วยให้ Antipodean ฟื้นตัวเล็กน้อยในเวลาต่อมา
ในทางกลับกัน คู่เงิน USDCAD ยุติการปรับตัวขึ้นสองวันติดต่อกัน เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงทั่วกระดาน ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ผนวกกับความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับแคนาดา และแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาคู่เงิน USDCAD ถึงกระนั้น ข้อตกลง USMCA (ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือฉบับใหม่) ก็ยังคงมีบทบาทในการปกป้องภาคการส่งออกของแคนาดา
คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 หลังจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งกล่าวว่า “เมื่อผลกระทบและขอบเขตของนโยบายภาษีเริ่มชัดเจนมากขึ้น คณะกรรมการมีความพร้อมในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย OCR ลงเพิ่มเติมตามความเหมาะสม” อีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันคู่เงิน Kiwi คือความสัมพันธ์ทางการค้าของประเทศในแถบแปซิฟิกกับประเทศจีน รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลจากมาตรการภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์
ราคาทองคำปรับตัวขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนในตลาด การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ และรูปแบบทางเทคนิคเชิงบวก ซึ่งช่วยหนุนการดีดตัวขึ้นของราคาทองคำ โดยมีแรงหนุนเพิ่มเติมจาก อุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากจีน แรงดึงดูดในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของอินเดีย ซึ่งทั้งหมดล้วนช่วยเสริมความแข็งแกร่งของราคาทองคำ
ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 โดยปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่เจ็ดติดต่อกัน แม้จะมีรายงานปริมาณน้ำมันคงคลังลดลงเกินคาด ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และรายงานการผลิตที่ลดลงของกลุ่ม OPEC+ ก็ตาม นักลงทุนยังคงระมัดระวังต่อแนวโน้มความต้องการน้ำมัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาษีการค้า และความเป็นไปได้ที่ OPEC+ อาจเพิ่มกำลังการผลิตในอนาคต
Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) ยังคงเผชิญแรงกดดัน โดยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯได้ ความเชื่อมั่นเชิงลบในภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงกดดันการพร้อมรับความเสี่ยง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับทรัมป์ และการที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯสั่งปิดหน่วยบังคับใช้กฎหมายด้านคริปโทเคอร์เรนซี
ตลาดยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวัง ขณะที่ นักลงทุนทั่วโลกจับตามองปฏิกิริยาต่อคำขู่เรื่องภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ แม้ว่าความพยายามทางการทูตอาจช่วยกระตุ้นบรรยากาศของการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดเล็กน้อย แต่ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงกดดันความเชื่อมั่นของตลาดให้อยู่ในภาวะเปราะบาง แม้ว่ารายงานการประชุม FOMC ที่มีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินลง อาจสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของสกุลเงินหลักอื่นๆหรือสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงเป็นไปได้ยาก เว้นแต่ว่าทำเนียบขาวจะมีท่าทีเข้มงวดทางการเงินลดลง ซึ่งยังไม่ใช่สิ่งที่ตลาดมีการคาดการณ์ในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน ถ้อยแถลงที่กำลังจะมีขึ้นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในค่าเงินยูโรและปอนด์
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!