ความเชื่อมั่นในตลาดอ่อนแอในวันศุกร์ โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดการชัตดาวน์หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของจีนที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
อีกทั้ง ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคพื้นฐาน (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯ ยังคงส่งผลกระทบต่อภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาด
ในอีกทางหนึ่ง ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวขึ้นจากข้อมูล GDP ไตรมาสที่ 3 ที่มีทิศทางเป็นบวกและตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง ซึ่งสนับสนุนการคาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้าลงในปี 2025 โดยปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกดดันคู่เงิน EURUSD ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD แตะที่ระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดเดือนก่อนการรายงานยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร
คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้ามาแทรกแซงตลาดของญี่ปุ่น ขณะที่สกุลเงินกลุ่ม Antipodean เผชิญแรงกดดันจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับจีนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง
ทางด้านราคาทองคำขาดแรงผลักดันขาขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัลยังคงเกิดการดึงกลับของระดับราคา ขณะที่นักลงทุนรอความชัดเจนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคาดการณ์เชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับทรัมป์
คู่เงิน EURUSD ยังคงเคลื่อนไหวใกล้จุดต่ำสุดของปี เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่า, ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหภาพยุโรป และความวุ่นวายทางการเมืองในเยอรมนีและฝรั่งเศส นอกจากนี้ ท่าทีสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยิ่งหนุนความเสี่ยงในการปรับลดลงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวในตลาดที่จำกัดจะยังคงช่วยชะลอการปรับลดลงเพิ่มเติม
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD แตะระดับต่ำสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่อ่อนแอ และบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยยอดค้าปลีกประจำเดือนพฤศจิกายน
คู่เงิน USDJPY ถอยตัวจากระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยยุติการปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 2 วัน ท่ามกลางการพูดคุยเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดของญี่ปุ่นและข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเชิงบวก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคู่เงินนี้
คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD พลิกกลับการดีดตัวขึ้น ขณะที่ ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน, ความตึงเครียดทางการค้า และปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับไต้หวันได้ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินกลุ่ม Antipodean ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCAD ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงและความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ช่วยพลิกสถานการณ์จากการปรับลดลงในวันพฤหัสบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองในแคนาดา
ราคาทองคำยังคงได้รับแรงหนุนเพียงเล็กน้อย ขณะที่ประสบปัญหาในการสร้างแรงผลักดัน โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่า, การคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และความกังวลที่เกี่ยวข้องกับจีน
ราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ห้า โดยได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการที่ลดลงในจีน, การเพิ่มกำลังการผลิตของ OPEC+ และความล้มเหลวของกลุ่ม G7 ในการควบคุมการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย
Bitcoin (BTCUSD) ร่วงลงต่อเนื่องเป็นวันที่สามแตะระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ ในขณะที่ Ethereum (ETHUSD) ยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นักลงทุนทำการขาย (liquidate long positions) จากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และการขาดข่าวสารเชิงบวกสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคริปโต
หลังจากสัปดาห์ที่มีความผันผวนสูง การซื้อขายในวันศุกร์อาจเงียบเหงาลง เว้นแต่ว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลหรือเหตุการณ์สำคัญใหม่ๆที่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาด โดยมีรายงานสำคัญได้แก่ ยอดค้าปลีกในสหราชอาณาจักรสำหรับเดือนพฤศจิกายน, รายงานรายไตรมาสของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE), และรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซนประจำเดือนธันวาคม ซึ่งอาจส่งผลต่อนักเทรดที่อาศัยโมเมนตัมของตลาดในการซื้อขาย อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะยังคงจับจ้องไปที่การประกาศดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ
แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจากสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปอาจไม่สามารถพลิกกลับการปรับลดลงล่าสุดของคู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน EURUSD ได้ แต่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯอาจช่วยให้ดอลลาร์สามารถขยายการปรับตัวขึ้นต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Fed ส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ช้าลงในปี 2025 ซึ่งอาจกดดันราคาทองคำให้อยู่ต่ำกว่าระดับแนวต้านที่ประมาณ $2,613-20
นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY อาจยังคงมีโมเมนตัมในทิศทางขาขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ, สกุลเงินกลุ่ม Antipodeans, และสกุลเงินดิจิทัลอาจมีโอกาสฟื้นตัวที่จำกัด เว้นแต่ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนตัวลง ด้านตลาดหุ้นมีแนวโน้มปิดสัปดาห์ในแดนลบ เนื่องจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และความกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!